ความจริงเกี่ยวกับคริสต์มาส
ความจริงเกี่ยวกับคริสต์มาส
คุณคิดว่าสำคัญไหมที่จะรู้ความจริงเรื่องการฉลองเทศกาลต่าง ๆ และคำสอนด้านศาสนา? ถ้าเช่นนั้น คุณอาจเคยถามคำถามเหล่านี้มาแล้วเช่น: (1) พระเยซูประสูติในวันที่ 25 ธันวาคมจริง ๆ หรือ? (2) ใครคือ “พวกนักปราชญ์” และพวกเขามีสามคนจริงหรือ? (3) “ดาว” อะไรนำทางพวกเขาไปหาพระเยซู? (4) ซานตาคลอสมีความเกี่ยวข้องกับพระเยซูและการประสูติของพระองค์ไหม? (5) พระเจ้าทรงมีทัศนะอย่างไรเกี่ยวกับธรรมเนียมการให้หรือการแลกเปลี่ยนของขวัญในวันคริสต์มาส?
ตอนนี้ให้เราพิจารณาคำถามเหล่านี้โดยอาศัยคัมภีร์ไบเบิลและข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์เป็นพื้นฐาน.
(1) พระเยซูประสูติในวันที่ 25 ธันวาคมไหม?
ความเชื่อโดยทั่วไป: ตามที่เชื่อกัน พระเยซูประสูติในวันที่ 25 ธันวาคม จึงมีการจัดงานฉลองในวันนั้น. สารานุกรมเกี่ยวกับศาสนา (ภาษาอังกฤษ) กล่าวว่า “คริสต์มาส” หมายถึง “‘มิสซาของพระคริสต์’ ซึ่งก็คือพิธีมิสซาฉลองงานเลี้ยงวันประสูติของพระคริสต์.”
ที่มาของเรื่อง: สารานุกรมคริสต์มาส (ภาษาอังกฤษ) กล่าวว่า “การกำหนดเอาวันที่ 25 ธันวาคมไม่ได้มาจากคัมภีร์ไบเบิล แต่มาจากเทศกาลนอกรีตของชาวโรมันซึ่งจัดขึ้นตอนสิ้นปี” ในช่วงที่ดวงอาทิตย์มาถึงจุดเหมายันสำหรับซีกโลกเหนือ. เทศกาลเหล่านั้นนับรวมถึงเทศกาลแซทเทอร์นาเลียซึ่งเป็นเกียรติแก่เทพเจ้าแซทเทิร์นแห่งเกษตรกรรม “และอีกสองเทศกาลที่ถูกนำมารวมกันซึ่งให้เกียรติแก่เทพเจ้าโซลของโรมันและเทพเจ้ามิทราของเปอร์เซีย” สารานุกรมฉบับเดียวกันกล่าวไว้. การฉลองวันเกิดของเทพเจ้าสององค์นี้ถูกจัดขึ้นในวันที่ 25 ธันวาคม วันที่ดวงอาทิตย์มาถึงจุดเหมายันตามปฏิทินจูเลียน.
เทศกาลแบบนอกรีตเหล่านั้นเริ่มเข้ามาอยู่ในการนมัสการของ “คริสเตียน” ในปี 350 เมื่อสันตะปาปาจูเลียสที่ 1 ประกาศให้วันที่ 25 ธันวาคมเป็นวันประสูติของพระคริสต์. สารานุกรมเกี่ยวกับศาสนา บอกว่า “เรื่องราวการประสูติของพระเยซูค่อย ๆ ซึมซับหรือเข้ามาแทนที่พิธีกรรมเหล่านั้นซึ่งจัดในวันที่ดวงอาทิตย์มาถึงจุดเหมายัน. เริ่มมีการใช้สัญลักษณ์ของดวงอาทิตย์เพื่อหมายถึงพระคริสต์ที่ถูกปลุกให้คืนพระชนม์ (ผู้ถูกเรียกด้วยว่าโซล อินวิกทุส) และวงกลมแห่งดวงอาทิตย์ . . . กลายมาเป็นแสงรัศมีรอบศีรษะเหล่านักบุญในศาสนาคริสต์.”
สิ่งที่คัมภีร์ไบเบิลกล่าว: คัมภีร์ไบเบิลไม่ได้บอกวันประสูติของพระเยซู. แต่เราลงความเห็นได้ว่าพระองค์ไม่ได้ประสูติในวันที่ 25 ธันวาคม. เพราะอะไร? คัมภีร์ไบเบิลบอกเราว่าเมื่อพระเยซูประสูติ คนเลี้ยงแกะ “อยู่ในทุ่งหญ้า” กำลังเฝ้าฝูงแกะของตนตอนกลางคืนบริเวณชานเมืองเบทเลเฮม. (ลูกา 2:8) ปกติแล้ว ฤดูฝนที่หนาวเย็นเริ่มในเดือนตุลาคม และคนเลี้ยงแกะ โดยเฉพาะคนที่อยู่ตามพื้นที่ภูเขารอบ ๆ เบทเลเฮมซึ่งอากาศหนาวกว่าก็จะต้อนฝูงแกะไปหลบภายในคอกตอนกลางคืน. บางครั้งเมื่ออากาศหนาวที่สุดหิมะจะตกด้วย ซึ่งเกิดขึ้นในช่วงเดือนธันวาคม. a
น่าสังเกต คริสเตียนสมัยแรกรวมทั้งหลายคนที่ร่วมเดินลูกา 22:17-20; 1 โครินท์ 11:23-26) กระนั้น บางคนอาจถามว่า ‘ความเกี่ยวโยงกับธรรมเนียมนอกรีตเป็นเรื่องสำคัญไหม?’ จะตอบอย่างไร? สำคัญทีเดียวสำหรับพระเจ้า. พระเยซูคริสต์ตรัสว่า “ผู้นมัสการแท้จะนมัสการพระบิดาด้วยพระวิญญาณและความจริง.”—โยฮัน 4:23
ทางกับพระเยซูในงานรับใช้ ไม่เคยฉลองวันเกิดของพระองค์ไม่ว่าจะเป็นวันใดก็ตาม. แต่พวกเขาระลึกถึงการสิ้นพระชนม์ของพระองค์เท่านั้น ตามที่พระองค์ทรงบัญชา. ((2) มี “นักปราชญ์” กี่คน? พวกเขาเป็นใคร?
วามเชื่อโดยทั่วไป: “ดาว” ดวงหนึ่งได้นำทางคนเหล่านี้มาจากทิศตะวันออก ภาพวาดต่าง ๆ แสดงว่า “นักปราชญ์” สามคนได้มอบของขวัญแก่พระเยซูขณะนอนอยู่ในรางหญ้าที่คอกสัตว์. บางครั้งในภาพมีคนเลี้ยงแกะอยู่ด้วย.
ที่มาของเรื่อง: นอกจากบันทึกสั้น ๆ ในคัมภีร์ไบเบิลแล้ว สารานุกรมคริสต์มาส ยังกล่าวว่า “ทุกเรื่องที่มีการเขียนเกี่ยวกับพวกนักปราชญ์มาจากตำนานเป็นส่วนใหญ่.”
สิ่งที่คัมภีร์ไบเบิลกล่าว: คัมภีร์ไบเบิลไม่ได้บอกว่ามี “นักปราชญ์” กี่คนมาหาพระเยซู. อาจมีสองคน สามคน สี่คนหรือมากกว่าก็ได้. แม้ถูกเรียกว่า “นักปราชญ์” ในคัมภีร์ไบเบิลบางฉบับ แต่คำนี้ในภาษาเดิมคือมากอย หมายถึงโหรหรือพ่อมด ซึ่งเป็นสิ่งที่คัมภีร์ไบเบิลกล่าวว่า “เป็นที่พระยะโฮวาทรงเกลียดชัง.” (พระบัญญัติ 18:10-12) เนื่องจากพวกเขาเดินทางไกลมาจากทางตะวันออก พวกโหรจึงมาไม่ทันตอนที่พระเยซูอยู่ในรางหญ้า. แต่หลังจากการเดินทางซึ่งอาจนานหลายเดือน พวกเขา “เข้าไปในบ้าน” ที่พระเยซูอยู่. ที่นั่นพวกเขาเห็น “พระกุมารกับมาเรียผู้เป็นมารดา.”—มัดธาย 2:11
(3) “ดาว” อะไรนำพวกโหรไปหาพระเยซู?
เราพอจะรู้ได้ว่านั่นเป็นดาวอะไรเมื่อพิจารณาว่าดาวนั้นนำพวกโหรไปที่ไหน. ตอนแรก ดาวนั้นไม่ได้นำพวกโหรตรงไปเบทเลเฮม แต่ไปที่กรุงเยรูซาเลม ซึ่งเรื่องที่พวกเขาไต่ถามเกี่ยวกับพระเยซูได้ยินไปถึงกษัตริย์เฮโรด. ครั้นแล้วเฮโรดจึง “เรียกพวกโหรมาอย่างลับ ๆ” และพวกเขาได้เล่าเรื่อง “กษัตริย์ของชาวยิว” ที่เพิ่งประสูติให้เฮโรดฟัง. แล้วเฮโรดก็รับสั่งว่า “จงไปเสาะหาพระกุมารนั้นเถิด เมื่อพบแล้วจงกลับมาแจ้งเรา.” อย่างไรก็ตาม ที่เฮโรดสนใจพระเยซูไม่ใช่ในทางดี. แทนที่จะเป็นอย่างนั้น ผู้ปกครองที่อำมหิตและหยิ่งยโสผู้นี้ตั้งใจจะเอาชีวิตพระเยซู!—มัดธาย 2:1-8, 16
น่าสนใจ ตอนนี้ “ดาว” นำพวกโหรลงใต้ไปยังเบทเลเฮม. ที่นั่น ดาวได้มา “หยุด” อยู่เหนือบ้านที่พระเยซูอยู่.—มัดธาย 2:9, 10
เห็นได้ชัดว่านี่ไม่ใช่ดาวธรรมดาแน่ ๆ! และถ้าพระเจ้าได้ใช้ทูตสวรรค์ไปบอกคนเลี้ยงแกะที่ต่ำต้อยเรื่องการประสูติของพระเยซู ทำไมพระองค์จึงจะใช้ดาวให้นำทางพวกโหรนอกรีตไปหาศัตรูของพระเยซูก่อนไปพบพระกุมาร? การลงความเห็นที่มีเหตุผลอย่างเดียวก็คือดาวนั้นเป็นสิ่งที่ซาตานใช้ด้วยเจตนาร้าย และมันสามารถแสดงหมายสำคัญเช่นนั้นได้. (2 เทสซาโลนิเก 2:9, 10) น่าแปลกที่ผู้คนมักจะประดับดาวแห่งเบทเลเฮมไว้บนยอดต้นคริสต์มาส.
(4) ซานตาคลอสมีความเกี่ยวข้องอะไรกับพระเยซูและการประสูติของพระองค์?
ความเชื่อโดยทั่วไป: ในหลายประเทศ ถือกันว่าซานตาคลอสเป็นผู้ที่นำของขวัญมาให้เด็ก ๆ. b พวกเด็ก ๆ มักจะเขียนถึงซานตาเพื่อขอของขวัญ ซึ่งตามธรรมเนียมที่สืบต่อกันมา เทวดาตัวน้อยช่วยซานตาทำของขวัญอยู่ที่สำนักงานใหญ่ในขั้วโลกเหนือ.
ที่มาของเรื่อง: ตามทัศนะของคนทั่วไป ตำนานเรื่องซานตาคลอสมีที่มาจากเรื่องราวของนักบุญนิโคลาส อาร์ชบิชอปแห่งมิราในเอเชียไมเนอร์ ปัจจุบันอยู่ในประเทศตุรกี. สารานุกรมคริสต์มาส กล่าวว่า “เกือบทุกสิ่งที่เขียนไว้เกี่ยวกับนักบุญนิโคลาสเป็นเรื่องราวจากตำนาน.” ชื่อ “ซานตาคลอส” อาจมาจากคำว่าซินเตอร์คลาส ซึ่งเพี้ยนมาจากคำภาษาดัตช์ที่แปลว่า “นักบุญนิโคลาส.” ทั้งแง่ประวัติศาสตร์และคัมภีร์ไบเบิล ซานตาคลอสไม่มีอะไรเหมือนกับพระเยซูคริสต์เลย.
สิ่งที่คัมภีร์ไบเบิลกล่าว: “ฉะนั้น เมื่อท่านทั้งหลายเลิกพูดมุสาแล้ว ให้พวกท่านแต่ละคนพูดความจริงกับเพื่อนบ้าน.” “เพื่อนบ้าน” ที่ใกล้ชิดที่สุดของเราก็คือสมาชิกในครอบครัว. (เอเฟโซส์ 4:25) คัมภีร์ไบเบิลกล่าวด้วยว่า เราควร “รักซึ่งความจริง” “พูดแต่คำจริงจากใจของตน.” (ซะคาระยา 8: 19; บทเพลงสรรเสริญ 15:2) จริงอยู่ การบอกเด็ก ๆ ว่าซานตา (หรือกุมารเยซู) เป็นผู้ให้ของขวัญในวันคริสต์มาส อาจดูเหมือนเป็นความสนุกที่ไม่มีพิษมีภัย แต่เป็นสิ่งถูกต้องหรือสุขุมไหมที่จะหลอกเด็กเล็ก ๆ แม้ว่าจะไม่มีเจตนาร้าย? คุณคิดว่าถูกไหมที่จะหลอกเด็ก ๆ ในโอกาสซึ่งถือกันว่าเป็นการให้เกียรติพระเยซู?
(5) พระเจ้าทรงมีทัศนะอย่างไรเกี่ยวกับการให้ของขวัญและการเลี้ยงรื่นเริงในวันคริสต์มาส?
ความเชื่อโดยทั่วไป: การให้ของขวัญในวันคริสต์มาสต่างจากการให้ของขวัญในเทศกาลอื่น ๆ ตรงที่ส่วนใหญ่แล้วเป็นการแลกเปลี่ยนของขวัญ และลักษณะเด่นอีกอย่างหนึ่งของเทศกาลคริสต์มาสคือการเลี้ยงสังสรรค์ และการกินการดื่ม.
ที่มาของเรื่อง: เทศกาลแซทเทอร์นาเลียของโรมันโบราณเริ่มในวันที่ 17 ธันวาคมและสิ้นสุดลงในวันที่ 24 ธันวาคม ซึ่งมีการแลกเปลี่ยนของขวัญกัน. ตามบ้านและถนนหนทางเต็มไปด้วยเสียงอึกทึกของงานเลี้ยง, การดื่มจัด, และความวุ่นวาย. หลังจากงานแซทเทอร์นาเลีย ก็จะมีการฉลองวันแรกของเดือนมกราคม. การฉลองนี้ก็มีการเลี้ยงรื่นเริงด้วย ตามปกติใช้เวลาประมาณสามวัน. งานแซทเทอร์นาเลียและการฉลองวันแรกของเดือนมกราคมคงถูกรวมเป็นเทศกาลเดียวที่ต่อเนื่องกัน.
สิ่งที่คัมภีร์ไบเบิลกล่าว: ความยินดีและความใจกว้างเป็นลักษณะเด่นของการนมัสการแท้. คัมภีร์ไบเบิลกล่าวว่า “ท่านทั้งหลายผู้ชอบธรรม, จงชื่นชมยินดีในพระยะโฮวา; และบรรดาผู้ที่มีใจเที่ยงตรงจงโห่ร้องยินดีเถิด.” (บทเพลงสรรเสริญ 32:11) ความยินดีเช่นนั้นมักเกี่ยวข้องกับความใจกว้าง. (สุภาษิต 11:25) พระเยซูคริสต์ตรัสว่า “การให้ทำให้มีความสุขยิ่งกว่าการรับ.” (กิจการ 20:35) พระองค์ยังตรัสด้วยว่า “จงให้แก่ผู้อื่น” และทำเช่นนี้เป็นประจำในชีวิตของคุณ.—ลูกา 6:38
การให้เช่นนี้ต่างกันมากจากการให้แบบพอเป็นพิธีหรือการให้เพราะถูกบังคับโดยธรรมเนียมของสังคม. เมื่อพรรณนาความใจกว้างที่แท้จริง คัมภีร์ไบเบิลบอกว่า “ให้แต่ละคนทำอย่างที่เขามุ่งหมายไว้ในใจ ไม่ใช่ด้วยฝืนใจหรือถูกบังคับ เพราะว่าพระเจ้าทรงรักผู้ที่ให้ด้วยใจยินดี.” (2 โครินท์ 9:7) คนที่ทำตามหลักการอันยอดเยี่ยมนี้ของคัมภีร์ไบเบิลจะเป็นผู้ให้เพราะความใจกว้างของเขากระตุ้นให้ทำอย่างนั้น ซึ่งอาจเป็นเวลาใดก็ได้ในรอบปี. แน่ใจได้ว่า การให้เช่นนี้ได้รับพระพรจากพระเจ้า และไม่เป็นภาระหนักเลย.
ถ้อยคำหลอกลวง!
เมื่อพิจารณาโดยอาศัยคัมภีร์ไบเบิลก็เห็นได้ว่าแทบจะทุกแง่มุมของคริสต์มาสมีต้นกำเนิดมาจากเทศกาลนอกรีตหรือไม่ก็เป็นการบิดเบือนบันทึกในคัมภีร์ไบเบิล. ดังนั้น เทศกาลคริสต์มาสจึงไม่ได้เป็นของคริสเตียน. คริสต์มาสกลายมาเป็นเทศกาลของคริสเตียนได้อย่างไร? หลายศตวรรษหลังจากการสิ้นพระชนม์ของพระคริสต์ ก็เกิดมีผู้สอนเท็จหลายคนอย่างที่คัมภีร์ไบเบิลได้บอกไว้ล่วงหน้า. (2 ติโมเธียว 4:3, 4) คนที่ไม่มีศีลธรรมเหล่านี้สนใจการทำให้ศาสนาคริสเตียนเป็นที่นิยมของประชาชนที่นับถือศาสนานอกรีตมากกว่าการสอนความจริง. ด้วยเหตุนั้น พวกเขาค่อย ๆ รับเอาเทศกาลของศาสนานอกรีตซึ่งเป็นที่นิยมกัน แล้วอ้างว่าเป็นของ “คริสเตียน.”
คัมภีร์ไบเบิลเตือนว่า “ผู้สอนเท็จ” เหล่านี้ “จะฉวยประโยชน์จากท่านทั้งหลาย . . . โดยใช้ถ้อยคำหลอกลวง. แต่การพิพากษาสำหรับพวกเขาซึ่งกำหนดไว้ตั้งแต่สมัยโบราณจะไม่ชักช้า และความพินาศของพวกเขาจะมีมาแน่.” (2 เปโตร 2:1-3) พยานพระยะโฮวาถือว่าถ้อยคำเหล่านี้เป็นเรื่องจริงจัง เช่นเดียวกับคัมภีร์ไบเบิลทั้งเล่ม ซึ่งพวกเขาถือว่าเป็นพระคำของพระเจ้า. (2 ติโมเธียว 3:16) ฉะนั้น พวกเขาปฏิเสธธรรมเนียมหรือการฉลองของศาสนาเท็จ. การที่พวกเขามีทัศนะเช่นนี้ทำให้พวกเขาขาดความสุขไหม? ตรงกันข้ามอย่างสิ้นเชิง! ดังที่เราจะพิจารณากันในตอนนี้ พวกเขาประสบด้วยตัวเองว่าความจริงในคัมภีร์ไบเบิลปลดปล่อยเขาให้เป็นอิสระ!
[เชิงอรรถ]
a ดูเหมือนว่าพระเยซูประสูติระหว่างเดือนเอทานิมตามปฏิทินของชาวยิวโบราณ (กันยายน-ตุลาคม).—ดูหนังสืออ้างอิงการหยั่งเห็นเข้าใจพระคัมภีร์ (ภาษาอังกฤษ) เล่ม 2 หน้า 56 จัดพิมพ์โดยพยานพระยะโฮวา.
b รายงานข่าวของสำนักข่าวบีบีซี กล่าวว่า ในบางประเทศแถบยุโรป เช่น ออสเตรีย “ผู้คนคาดหมายว่ากุมารเยซูจะมาเยี่ยมไม่ใช่ซานตา.” ถึงกระนั้น การเยี่ยมนี้ก็เกี่ยวข้องกับการให้ของขวัญ.
[กรอบ/ภาพหน้า 8]
หว่านวัชพืชก็จะเก็บเกี่ยววัชพืช
หนังสือธรรมเนียมประเพณีของคริสต์มาส—ความเป็นมาและความสำคัญ (ภาษาอังกฤษ) กล่าวว่า ในสมัยหนึ่ง ผู้นำคริสตจักรต่อสู้ “อย่างรุนแรงต่อสิ่งที่หลงเหลือมาจากศาสนานอกรีต.” แต่ในเวลาต่อมา ผู้นำคริสตจักรเริ่มสนใจให้มีคนมาโบสถ์มากกว่าการสอนความจริง. ด้วยเหตุนั้น พวกเขาเริ่ม “ปิดหูปิดตา” ต่อกิจปฏิบัตินอกรีตเหล่านั้น. ต่อมา พวกเขารับเอาสิ่งเหล่านั้นอย่างเต็มใจ.
คัมภีร์ไบเบิลกล่าวว่า “ใครหว่านอะไรก็จะเก็บเกี่ยวสิ่งนั้น.” (กาลาเทีย 6:7) หลังจากหว่านเมล็ดนอกรีตลงในที่นาของตน คริสตจักรก็ไม่ควรแปลกใจที่ “วัชพืช” เจริญงอกงาม. เทศกาลที่ถือว่าเป็นการฉลองวันประสูติของพระเยซูกลายมาเป็นโอกาสที่จะสำมะเลเทเมา, ห้างสรรพสินค้าเป็นที่นิยมมากกว่าโบสถ์, หลายครอบครัวเป็นหนี้ท่วมหัวเพราะซื้อของขวัญ, และเด็ก ๆ คิดว่านิทานเป็นเรื่องจริง ทั้งยังคิดว่าซานตาคลอสเป็นพระเยซูคริสต์. ใช่แล้ว ด้วยเหตุผลที่ดี พระเจ้าจึงตรัสว่า “จง . . . เลิกแตะต้องสิ่งที่ไม่สะอาด.”—2 โครินท์ 6:17
[ภาพหน้า 7]
เทศกาลคริสต์มาส เช่นเดียวกับเทศกาลแซทเทอร์นาเลียในสมัยโบราณ มีลักษณะเด่นคือการเลี้ยงสังสรรค์ และการกินการดื่ม
[ที่มาของภาพ]
© Mary Evans Picture Library