หนุ่มสาวถามว่า
ทำไมควรไปประชุมคริสเตียน?
คุณชอบการประชุมคริสเตียนไหม?
ชอบ → ดีแล้ว ทำอย่างนั้นต่อ ๆ ไป
ไม่ชอบ → คุณจะทำอะไรได้เกี่ยวกับเรื่องนี้?
คัมภีร์ไบเบิลสั่งคริสเตียนให้ประชุมร่วมกันเพื่อการนมัสการ. (ฮีบรู 10:25) แต่จะว่าอย่างไรถ้าคุณไม่ชอบไปประชุมเลย? จะว่าอย่างไรถ้าคุณใจลอยและเอาแต่คิดถึงสิ่งที่คุณจะทำถ้าไม่ได้มาประชุม? ให้ปรับปรุงโดยลองทำตามข้อเสนอแนะต่อไปนี้.
1. ประชุมเป็นประจำ
ข้อคัมภีร์หลัก: “อย่าขาดการประชุมกันอย่างที่บางคนทำเป็นนิสัย.”—ฮีบรู 10:25
ในเมื่อคุณไม่ชอบทำอะไรบางอย่าง แล้วทำไมคุณจึงอยากทำสิ่งนั้นเป็นประจำ? ก็เพราะถ้าทำเป็นประจำ คุณจะเริ่มชอบสิ่งนั้นไปเอง! ลองคิดทำนองนี้: ถ้าคุณซ้อมกีฬาชนิดหนึ่งเพียงครั้งคราว คุณจะเล่นกีฬานั้นเก่งไหม? และคุณจะชอบกีฬานั้นไหม? หลักการเดียวกันนี้ใช้ได้กับการประชุมคริสเตียนด้วย. ยิ่งคุณเข้าร่วมประชุมมากเท่าไร คุณจะยิ่งใกล้ชิดพระเจ้ามากขึ้นเท่านั้น. นั่นจะช่วยให้คุณอยากมาประชุมอีก!—มัดธาย 5:3
ข้อแนะ: หลังจากการประชุมแต่ละครั้ง ให้บอกผู้บรรยายอย่างน้อยหนึ่งคนว่าคุณได้รับประโยชน์อะไรจากคำบรรยายของเขา. เขียนในบันทึกประจำวันว่าคุณได้รับประโยชน์อย่างไรจากการเข้าร่วมประชุม. และเนื่องจากหลายเรื่องในการประชุมเกี่ยวกับงานเผยแพร่ของคริสเตียน ให้ตั้งเป้าที่จะปรับปรุงวิธีพูดเรื่องความเชื่อของคุณกับคนอื่น. นั่นจะทำให้สิ่งที่พิจารณา ณ การประชุมเกี่ยวข้องกับตัวคุณมากขึ้น.
“ตั้งแต่เด็ก ฉันได้รับการสอนว่าการประชุมไม่ใช่จะไปหรือไม่ไปก็ได้. แม้แต่ตอนที่ฉันเป็นเด็ก ฉันไม่เคยคิดจะขาดการประชุมเลย. ฉันมีทัศนะแบบนี้จนถึงเดี๋ยวนี้.”—เคลซีย์
จุดสำคัญ: คนที่เข้าร่วมประชุมเป็นประจำจะชอบการประชุมมากขึ้น และได้รับประโยชน์มากขึ้นด้วย!
2. ตั้งใจฟัง
ข้อคัมภีร์หลัก: “จงพิจารณาว่าเจ้าทั้งหลายฟังอย่างไร.”—ลูกา 8:18
นักวิจัยกล่าวว่าพอถึงตอนเย็น ผู้ฟังโดยทั่วไปจะลืมประมาณ 60 เปอร์เซ็นต์ของเรื่องที่ได้ฟังในวันนั้น. ถ้าเงินของคุณหายไปเร็วขนาดนั้น คุณจะไม่ทำอะไรสักอย่างเพื่อจะป้องกันเงินของคุณหรือ?
ข้อแนะ: นั่งกับคุณพ่อคุณแม่ของคุณในแถวหน้า ๆ ของห้องประชุม เพื่อจะเสียสมาธิน้อยลง. จดบันทึก. แม้ว่าแต่ละคนมีวิธีการเรียนรู้ต่างกัน แต่การจดบันทึกทำให้ความสนใจของคุณมุ่งไปที่ผู้บรรยาย และมีประโยชน์สำหรับการทบทวนต่อไป.
“ฉันเคยรู้สึกว่ายากที่จะตั้งใจฟังการประชุม แต่ตอนนี้ฉันทำได้ดีขึ้นแล้ว. ฉันพยายามจำไว้ว่าฉันมาประชุมเพื่ออะไร. ฉันไม่ได้มาทำพิธีทางศาสนา เหมือนกับไปโบสถ์. ฉันไปประชุมเพื่อนมัสการและเรียนรู้ เพื่อจะได้สิ่งที่เป็นประโยชน์ไปใช้ในชีวิตของฉัน.”—แคทลีน
จุดสำคัญ: การไปประชุมและไม่ตั้งใจฟังก็เปรียบเหมือนการไปที่งานเลี้ยงแต่ไม่ได้กินอะไรเลย.
3. มีส่วนร่วม
ข้อคัมภีร์หลัก: “เหล็กลับเหล็กให้คมได้ฉันใด, คนเราก็ลับเพื่อนของเราให้เฉียบแหลมขึ้นได้ฉันนั้น.”—สุภาษิต 27:17
ในฐานะคนหนุ่มสาว คุณมีบทบาทสำคัญในการประชุมประจำประชาคม. อย่าประเมินค่าการเข้าร่วมและการมีส่วนร่วมของคุณต่ำเกินไป ไม่ว่าจะโดยการออกความคิดเห็นในส่วนถามตอบ หรือการคบหาสมาคมกับเพื่อนร่วมความเชื่อ.
ข้อแนะ: ตั้งเป้าหมายที่จะออกความคิดเห็นอย่างน้อยหนึ่งครั้งในส่วนถามตอบ. อาสาช่วยทำความสะอาดหรือทำงานอื่น ๆ ที่จำเป็นต้องทำก่อน ระหว่าง หรือหลังการประชุม. ริเริ่มพูดคุยกับบางคนที่ปกติคุณไม่ค่อยมีโอกาสคุยด้วย.
“ในช่วงที่เป็นวัยรุ่น ผมอยู่พร้อมจะช่วยส่งไมโครโฟนและจัดเวทีสำหรับการประชุม. การมีหน้าที่รับผิดชอบเหล่านั้นทำให้ผมรู้สึกว่าตัวเองมีค่า และเป็นการบังคับผมให้อยู่ที่นั่นตรงเวลา. นั่นช่วยผมให้สนใจกิจกรรมการนมัสการมากขึ้น.”—ไมลส์
จุดสำคัญ: อย่านั่งเฉย ๆ—ทำ อะไรสักอย่างสิ! การมีส่วนร่วมเป็นประโยชน์มากกว่าการเป็นแค่ผู้ชมเสมอ.
ถ้าต้องการอ่านบทความชุด “หนุ่มสาวถามว่า” เพิ่มเติม ให้ดาวน์โหลดตื่นเถิด! ฉบับอื่น ๆ จากเว็บไซต์ www.mr1310.com
[กรอบ/ภาพหน้า 21]
คุณได้รับเชิญ!
คุณอยาก
● เรียนรู้ความจริงเรื่องพระเจ้าไหม?
● เป็นคนที่ดีขึ้นไหม?
● หาเพื่อนที่ดีไหม?
การประชุมของพยานพระยะโฮวาช่วยคุณให้ทำสิ่งเหล่านี้ได้ และช่วยในเรื่องอื่น ๆ ด้วย! พยานพระยะโฮวาประชุมร่วมกันเพื่อการนมัสการที่หอประชุมราชอาณาจักรของพวกเขาสัปดาห์ละสองครั้ง. ไม่มีการเรี่ยไร และพยานฯ ยินดีต้อนรับทุกคนที่เข้าร่วมประชุม.
อย่าพลาด! หอประชุมราชอาณาจักรไม่เหมือนกับโบสถ์ที่คุณเคยไป. ที่การประชุมของพยานพระยะโฮวา มีการเน้นเรื่องการศึกษาคัมภีร์ไบเบิล และคุณจะได้เรียนรู้ว่าพระคำของพระเจ้าช่วยคุณอย่างไรให้มีชีวิตที่ดีที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้!—พระบัญญัติ 31:12; ยะซายา 48:17
ซะอิ—ครั้งแรกที่ผมเดินเข้าไปในหอประชุมราชอาณาจักร ผมรู้สึกแปลกใจที่ในหอประชุมไม่มีรูปเคารพ ไม่มีใครแต่งตัวเหมือนบาทหลวง และไม่มีใครมาขอให้ผมบริจาคเงิน. ทุกคนต้อนรับผมและผมรู้สึกปลอดภัย. เรื่องที่มีการพิจารณา ณ การประชุมเข้าใจง่ายและมีเหตุผล. นี่คือความจริงที่ผมค้นหามาตลอด!
เดยานีรา—ฉันร่วมประชุมของพยานพระยะโฮวาครั้งแรกเมื่อฉันอายุ 14 ปี. ทุกคนมาต้อนรับฉันทันที. พวกเขาดูมีความสุขที่ฉันอยู่ที่นั่น และพวกเขาสนใจฉันจริง ๆ. เนื่องจากได้รับความประทับใจตั้งแต่ครั้งแรก ฉันจึงรู้สึกสบายใจที่จะกลับไปประชุมอีก.
[กรอบหน้า 22]
ค้นดูว่าจะมีการพิจารณาเรื่องอะไรบ้างในการประชุมประจำประชาคมครั้งถัดไป. เลือกส่วนหนึ่งที่คุณสนใจและ . . .
ตัดและทำสำเนา
เขียนก่อน เข้าร่วมประชุม.
ชื่อส่วน:
․․․․․
⇩
สิ่งที่คุณอยากรู้เกี่ยวกับหัวเรื่องนี้:
․․․․․
⇩
เขียนหลัง จากส่วนนั้นผ่านไปแล้ว.
สิ่งที่ฉันได้เรียนรู้:
․․․․․
⇩
จุดที่ฉันชอบซึ่งฉันจะไปบอกผู้บรรยาย:
․․․․․