‘จงกล่าวพระคำของพระเจ้าด้วยความกล้าหาญ’
‘จงกล่าวพระคำของพระเจ้าด้วยความกล้าหาญ’
“พวกเขา . . . เปี่ยมด้วยพระวิญญาณบริสุทธิ์และกล่าวพระคำของพระเจ้าด้วยความกล้าหาญ.”—กิจ. 4:31
1, 2. เหตุใดเราควรพยายามทำงานรับใช้อย่างมีประสิทธิภาพ?
สามวันก่อนจะสิ้นพระชนม์ พระเยซูทรงบอกเหล่าสาวกว่า “ข่าวดีเรื่องราชอาณาจักรจะได้รับการประกาศไปทั่วแผ่นดินโลกที่มีคนอาศัยอยู่เพื่อให้พยานหลักฐานแก่ทุกชาติ แล้วอวสานจะมาถึง.” ก่อนจะขึ้นสู่สวรรค์ พระเยซูผู้ถูกปลุกให้คืนพระชนม์ทรงมอบหมายเหล่าสาวกให้ ‘สอนคนจากทุกชาติให้เป็นสาวก สอนคนเหล่านั้นให้ปฏิบัติตามทุกสิ่งที่พระองค์ทรงสั่งพวกเขาไว้.’ พระองค์ทรงสัญญาว่าพระองค์จะอยู่กับพวกเขา “เสมอจนถึงช่วงสุดท้ายของยุค.”—มัด. 24:14; 26:1, 2; 28:19, 20
2 ในฐานะพยานพระยะโฮวา เรามีส่วนร่วมอย่างขันแข็งในงานที่เริ่มทำกันมาตั้งแต่สมัยศตวรรษแรก. ไม่มีงานใดสำคัญเท่ากับงานประกาศเรื่องราชอาณาจักรและสอนคนให้เป็นสาวกซึ่งเป็นงานที่ช่วยชีวิตผู้คน. ดังนั้น นับว่าสำคัญสักเพียงไรที่เราจะต้องทำงานรับใช้นี้อย่างมีประสิทธิภาพ! ในบทความนี้ เราจะได้เห็นว่าการได้รับการชี้นำจากพระวิญญาณบริสุทธิ์ช่วยเราอย่างไรให้พูดอย่างกล้าหาญในงานรับใช้. สองบทความถัดไปจะแสดงให้เห็นว่าพระวิญญาณของพระยะโฮวาสามารถชี้นำเราอย่างไรให้สอนอย่างชำนาญและประกาศอย่างสม่ำเสมอ.
เราจำเป็นต้องกล้าหาญ
3. เหตุใดจึงต้องมีความกล้าเพื่อจะประกาศเรื่องราชอาณาจักร?
3 งานประกาศเรื่องราชอาณาจักรที่พระเจ้าประทานแก่เรานี้เป็นสิทธิพิเศษที่ไม่มีอะไรจะเทียบได้. แต่ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายเสมอไปที่จะทำงานนี้. ในขณะที่บางคนพร้อมจะตอบรับข่าวดีเรื่องราชอาณาจักรของพระเจ้า หลายคนเป็นเหมือนมัด. 24:38, 39) นอกจากนั้น มีคนที่เยาะเย้ยหรือต่อต้านเราด้วย. (2 เป. 3:3) การต่อต้านอาจมาจากเจ้าหน้าที่บ้านเมือง, จากเพื่อนนักเรียนหรือเพื่อนร่วมงาน, หรือแม้แต่จากคนในครอบครัว. นอกจากนั้นแล้ว เรายังต้องเอาชนะข้ออ่อนแอของตัวเราเองด้วย เช่น ความขี้อายและการกลัวว่าจะถูกปฏิเสธ. มีปัจจัยมากมายที่อาจทำให้เป็นเรื่องยากที่เราจะ “พูดได้ด้วยความมั่นใจ” และ “กล้า” กล่าวพระคำของพระเจ้า. (เอเฟ. 6:19, 20) เพื่อจะพากเพียรในการกล่าวพระคำของพระเจ้าต่อ ๆ ไปจำเป็นต้องมีความกล้า. อะไรอาจช่วยเราได้ให้มีความกล้า?
กับผู้คนในสมัยโนฮา. พระเยซูตรัสว่า พวกเขา “ไม่แยแสจนกระทั่งน้ำมาท่วมและกวาดพวกเขาไปเสียสิ้น.” (4. (ก) ความกล้าหาญคืออะไร? (ข) อัครสาวกเปาโลรวบรวมความกล้าอย่างไรเพื่อจะพูดกับผู้คนในเมืองเทสซาโลนิเก?
4 คำภาษากรีกที่แปลไว้ว่า “ความกล้าหาญ” หมายถึง “ความตรงไปตรงมา, ความเปิดเผย.” คำนี้สื่อให้นึกถึง “ความมั่นใจ . . . ความไม่กลัว.” ความกล้าหาญไม่ได้หมายถึงการพูดแบบขวานผ่าซากหรือหยาบคาย. (โกโล. 4:6) ในขณะที่เราแสดงความกล้าหาญ เราต้องการรักษาสันติสุขกับทุกคนด้วย. (โรม 12:18) นอกจากนั้น ขณะที่เราประกาศข่าวดีเรื่องราชอาณาจักรของพระเจ้าเราจำเป็นต้องรักษาความสมดุลระหว่างความกล้าหาญกับความผ่อนหนักผ่อนเบา เพื่อจะไม่ทำให้ใครขุ่นเคืองโดยไม่ตั้งใจ. ที่จริง เพื่อจะมีความกล้าหาญอย่างถูกต้องเราต้องพัฒนาคุณลักษณะอื่น ๆ ซึ่งต้องใช้ความพยายามอย่างมาก. อย่างไรก็ตาม เพื่อจะพัฒนาความกล้าหาญแบบนี้ เราไม่อาจพึ่งเฉพาะแต่กำลังหรือความสามารถของตัวเราเอง. หลังจากที่อัครสาวกเปาโลและเพื่อนร่วมเดินทางของท่าน “ถูกปฏิบัติอย่างเหยียดหยามในเมืองฟิลิปปอยแล้ว” พวกท่านได้ “รวบรวมความกล้า” อย่างไรเพื่อจะพูดกับผู้คนในเมืองเทสซาโลนิเก? เปาโลเขียนว่า “โดยการช่วยเหลือจากพระเจ้าของเรา.” (อ่าน 1 เทสซาโลนิเก 2:2) พระยะโฮวาพระเจ้าทรงสามารถขจัดความกลัวที่เรามีอยู่ให้หมดไปและประทานความกล้าหาญคล้าย ๆ กันนั้นแก่เรา.
5. พระยะโฮวาประทานความกล้าหาญแก่เปโตร, โยฮัน, และสาวกคนอื่น ๆ อย่างไร?
5 เมื่อถูก “พวกผู้นำกับพวกผู้เฒ่าผู้แก่และพวกอาลักษณ์” ต่อต้าน อัครสาวกเปโตรและโยฮันกล่าวว่า “ถ้าพวกข้าพเจ้ายอมฟังพวกท่านแทนที่จะฟังพระเจ้า จะเป็นการชอบธรรมในสายพระเนตรของพระเจ้าหรือ ท่านทั้งหลายจงตัดสินเองเถิด. แต่พวกข้าพเจ้าจะหยุดพูดเรื่องที่ได้เห็นและได้ยินนั้นไม่ได้.” แทนที่จะอธิษฐานขอพระเจ้าให้การข่มเหงยุติลง พวกท่านกับเพื่อนร่วมความเชื่อทูลวิงวอนพระยะโฮวาว่า “ข้าแต่พระยะโฮวา ขอทรงพิจารณาการข่มขู่ของพวกเขา และขอทรงโปรดให้ทาสของพระองค์กล่าวคำของพระองค์ต่อไปด้วยใจกล้า.” (กิจ. 4:5, 19, 20, 29) พระยะโฮวาทรงตอบคำวิงวอนของพวกเขาอย่างไร? (อ่านกิจการ 4:31) พระยะโฮวาทรงช่วยพวกเขาโดยทางพระวิญญาณของพระองค์ให้รวบรวมความกล้า. พระวิญญาณของพระเจ้าสามารถช่วยเราในลักษณะเดียวกัน. ถ้าอย่างนั้น เราจะรับเอาพระวิญญาณของพระเจ้าและได้รับการชี้นำจากพระวิญญาณนั้นในงานรับใช้ของเราได้อย่างไร?
จงมีความกล้าหาญ
6, 7. วิธีที่ตรงที่สุดในการได้รับพระวิญญาณบริสุทธิ์ของพระเจ้าคืออะไร? จงยกตัวอย่าง.
6 วิธีที่ตรงที่สุดในการได้รับพระวิญญาณบริสุทธิ์ของพระเจ้าก็คือการทูลขอจากพระองค์. พระเยซูทรงบอกผู้ฟังของพระองค์ว่า “ถ้าเจ้าทั้งหลายซึ่งแม้เป็นคนบาปก็ยังรู้จักให้ของดีแก่บุตร ยิ่งกว่านั้นสักเท่าใด พระบิดาผู้สถิตในสวรรค์จะทรงประทานพระวิญญาณบริสุทธิ์แก่ผู้ที่ทูลขอพระองค์!” (ลูกา 11:13) ที่จริง เราควรอธิษฐานขอพระวิญญาณบริสุทธิ์เป็นประจำ. ถ้างานรับใช้ของเราในบางลักษณะ เช่น การประกาศตามถนน, การประกาศอย่างไม่เป็นทางการ, หรือการประกาศในเขตธุรกิจ ทำให้เรากลัว เราสามารถอธิษฐานขอพระวิญญาณจากพระยะโฮวาและขอพระองค์ช่วยเรารวบรวมความกล้าที่เราจำเป็นต้องมี.—1 เทส. 5:17
7 นั่นคือสิ่งที่สตรีคริสเตียนคนหนึ่งที่ชื่อโรซาได้ทำ. * วันหนึ่ง เมื่อโรซาอยู่ในที่ทำงาน ครูโรงเรียนคนหนึ่งซึ่งทำงานด้วยกันกับเธอกำลังอ่านรายงานจากโรงเรียนอีกแห่งหนึ่งเกี่ยวกับการกระทำทารุณต่อเด็ก. ครูคนนี้รู้สึกหงุดหงิดมากกับสิ่งที่เธอได้อ่านถึงกับร้องออกมาว่า “โลกนี้มันชักจะเสื่อมไปกันใหญ่แล้ว!” โรซาไม่อาจปล่อยให้โอกาสดีที่ จะบอกข่าวสารในพระคัมภีร์ผ่านไปเฉย ๆ. เธอทำอะไรเพื่อที่จะกล้าเริ่มการสนทนา? โรซาบอกว่า “ดิฉันอธิษฐานถึงพระยะโฮวาและขอพระวิญญาณของพระองค์ให้ช่วยดิฉัน.” เธอสามารถประกาศกับครูคนนี้เป็นอย่างดีและได้นัดหมายที่จะคุยกันในเรื่องนั้นต่อ. ขอให้พิจารณาด้วยเกี่ยวกับประสบการณ์ของเด็กหญิงวัยห้าขวบชื่อมิลานี ซึ่งอาศัยในนครนิวยอร์ก. มิลานีบอกว่า “ก่อนหนูจะไปโรงเรียน แม่จะอธิษฐานถึงพระยะโฮวาด้วยกันกับหนูเสมอ.” แม่ลูกคู่นี้อธิษฐานขออะไร? ขอให้มิลานีมีความกล้าที่จะยึดมั่นในจุดยืนของเธอและพูดถึงพระเจ้าของเธอ! แม่ของเธอบอกว่า “การอธิษฐานอย่างนี้ช่วยให้มิลานีสามารถอธิบายทัศนะของเธอในเรื่องวันเกิดและวันหยุดนักขัตฤกษ์ต่าง ๆ และไม่มีส่วนร่วมด้วยเมื่อมีการจัดงานต่าง ๆ เหล่านั้น.” ตัวอย่างดังกล่าวแสดงให้เห็นมิใช่หรือว่าการอธิษฐานช่วยให้มีความกล้าได้จริง ๆ?
8. เราอาจเรียนอะไรได้จากผู้พยากรณ์ยิระมะยาห์เกี่ยวกับการมีความกล้า?
8 ขอให้พิจารณาด้วยว่าอะไรช่วยผู้พยากรณ์ยิระมะยาห์ให้มีความกล้า. เมื่อพระยะโฮวาทรงมอบหมายให้ท่านพยากรณ์แก่ชาติต่าง ๆ ยิระมะยาห์ตอบว่า “ดูเถิด, ข้าพเจ้าพูดไม่ได้, เพราะข้าพเจ้าเป็นเด็กอยู่.” (ยิระ. 1:4-6) แต่ในเวลาต่อมา ยิระมะยาห์ก็ได้ทำงานประกาศอย่างสม่ำเสมอและอย่างมีพลังถึงขนาดที่หลายคนมองว่าท่านเป็นคนที่พูดแต่เรื่องความหายนะ. (ยิระ. 38:4) ท่านประกาศข่าวการพิพากษาของพระยะโฮวาอย่างกล้าหาญนานกว่า 65 ปี. ท่านเป็นที่รู้จักกันดีในประเทศอิสราเอลเพราะการประกาศอย่างไม่กลัวเกรงและกล้าหาญ ถึงขนาดที่ 600 กว่าปีต่อมาเมื่อพระเยซูตรัสอย่างกล้าหาญ บางคนเชื่อว่าพระองค์เป็นยิระมะยาห์ที่กลับมีชีวิตอีก. (มัด. 16:13, 14) ผู้พยากรณ์ยิระมะยาห์ซึ่งในตอนแรกลังเลที่จะประกาศเอาชนะความขี้อายได้อย่างไร? ท่านกล่าวว่า “คำของ [พระเจ้า] อยู่ในใจข้าพเจ้าเหมือนอย่างไฟปิดไว้ในกระดูกทั้งปวงของตัวข้าพเจ้า, แลข้าพเจ้าจึงเหน็ดเหนื่อยด้วยการนิ่งอยู่.” (ยิระ. 20:9) ดังนั้น พระคำของพระยะโฮวาให้พลังแก่ยิระมะยาห์และกระตุ้นท่านให้พูด.
9. เหตุใดพระคำของพระเจ้าสามารถส่งผลกระทบต่อเราแบบเดียวกับที่ส่งผลกระทบต่อยิระมะยาห์?
9 ในจดหมายของอัครสาวกเปาโลถึงคริสเตียนชาวฮีบรู ท่านเขียนว่า “พระคำของพระเจ้ามีชีวิต ทรงพลังและคมกว่าดาบสองคม แทงทะลุถึงขนาดที่แยกออกระหว่างตัวตนที่เห็นกับตัวตนจริง ๆ และระหว่างกระดูกกับไขกระดูก และสามารถหยั่งรู้ความคิดและความมุ่งหมายในใจ.” (ฮีบรู 4:12) ข่าวสารหรือพระคำของพระเจ้าสามารถส่งผลกระทบต่อเราในวิธีเดียวกับที่ส่งผลกระทบต่อยิระมะยาห์. อย่าลืมว่า แม้พระเจ้าทรงใช้มนุษย์ให้เขียนคัมภีร์ไบเบิล แต่คัมภีร์ไบเบิลไม่ใช่หนังสือที่รวบรวมสติปัญญาของมนุษย์ เพราะหนังสือนี้มีขึ้นโดยการดลใจจากพระเจ้า. เราอ่านที่ 2 เปโตร 1:21 ว่า “คำพยากรณ์ไม่เคยมีขึ้นตามใจมนุษย์ แต่มนุษย์พูดตามที่พระเจ้าทรงประสงค์ให้พูดโดยได้รับการทรงนำจากพระวิญญาณบริสุทธิ์.” เมื่อเราใช้เวลาในการศึกษาคัมภีร์ไบเบิลเป็นส่วนตัวอย่างมีความหมาย ข่าวสารที่มีขึ้นโดยการดลใจจากพระวิญญาณบริสุทธิ์ก็จะถูกบรรจุเข้าไว้ในจิตใจของเรา. (อ่าน 1 โครินท์ 2:10) ข่าวสาร นั้นอาจกลายเป็น “เหมือนอย่างไฟ” ในตัวเรา จนเราไม่สามารถจะเก็บเอาไว้ได้.
10, 11. (ก) นิสัยการศึกษาของเราควรเป็นอย่างไรเพื่อเราจะมีความกล้าที่จะพูด? (ข) คุณวางแผนที่จะปรับปรุงคุณภาพการศึกษาส่วนตัวของคุณอย่างไร?
10 เพื่อที่การศึกษาคัมภีร์ไบเบิลเป็นส่วนตัวจะส่งผลกระทบที่มีพลังต่อเรา เราควรศึกษาอย่างที่ข่าวสารของพระคัมภีร์เข้าถึงส่วนลึกของเรา ส่งผลกระทบต่อตัวตนที่แท้จริงของเรา. ตัวอย่างเช่น ผู้พยากรณ์ยะเอศเคลได้รับนิมิตหนึ่ง ซึ่งในนิมิตนั้นมีคำสั่งให้ท่านกินม้วนหนังสือที่บรรจุข่าวสารที่รุนแรงซึ่งจะต้องส่งไปถึงประชาชนที่ไม่ตอบรับ. ยะเอศเคลต้องซึมซับข่าวสารนั้นไว้อย่างเต็มที่และให้ข่าวสารนั้นกลายเป็นส่วนหนึ่งของตัวท่าน. การทำอย่างนั้นจะทำให้งานส่งข่าวสารนั้นน่ายินดี—เหมือนกับรสชาติของน้ำผึ้ง.—อ่านยะเอศเคล 2:8–3:4, 7-9
11 เราอยู่ในสถานการณ์คล้ายกันกับยะเอศเคล. ปัจจุบัน หลายคนไม่อยากฟังข่าวสารที่อยู่ในคัมภีร์ไบเบิลเลย. เพื่อที่เราจะสามารถมุมานะต่อ ๆ ไปในการกล่าวพระคำของพระเจ้า เป็นเรื่องสำคัญที่เราจะศึกษาพระคัมภีร์อย่างที่จะทำให้เราสามารถเข้าใจและเชื่อข่าวสารนั้นอย่างเต็มที่. เราควรมีนิสัยที่สม่ำเสมอในการศึกษา ไม่ใช่ทำบ้างไม่ทำบ้าง. เราควรมีความปรารถนาแบบเดียวกับผู้ประพันธ์เพลงสรรเสริญซึ่งร้องว่า “ข้าแต่พระยะโฮวา, ผู้เป็นศิลา, และเป็นผู้ทรงไถ่โทษของข้าพเจ้า, ขอให้วาจาที่ออกมาจากปากกับความคิดในใจของข้าพเจ้าเป็นที่ชอบต่อพระเนตรของพระองค์.” (เพลง. 19:14) นับว่าสำคัญจริง ๆ ที่เราต้องใช้เวลาใคร่ครวญสิ่งที่เราอ่าน เพื่อความจริงในคัมภีร์ไบเบิลจะฝังลึกลงไปในหัวใจเรา! แน่นอน เราควรพยายามปรับปรุงคุณภาพการศึกษาส่วนตัวของเรา. *
12. เหตุใดการประชุมคริสเตียนช่วยเราให้ได้รับการนำโดยพระวิญญาณบริสุทธิ์?
12 อีกวิธีหนึ่งที่จะได้รับประโยชน์จากพระวิญญาณบริสุทธิ์ของพระยะโฮวาก็คือโดย “พิจารณากันและกันเพื่อเร้าใจให้เกิดความรักและการดี อย่าขาดการประชุมกัน.” (ฮีบรู 10:24, 25) การพยายามเข้าร่วมการประชุมคริสเตียนเป็นประจำ, การตั้งใจฟัง, และการใช้สิ่งที่เราเรียนรู้เป็นวิธีที่ดีที่จะได้รับการนำโดยพระวิญญาณ. อันที่จริง พระวิญญาณของพระยะโฮวาให้การชี้นำโดยทางประชาคมมิใช่หรือ?—อ่านวิวรณ์ 3:6
ผลประโยชน์ของการมีความกล้า
13. เราเรียนอะไรได้จากการที่คริสเตียนในศตวรรษแรกทำงานประกาศได้สำเร็จ?
13 พระวิญญาณบริสุทธิ์เป็นพลังที่ทรงพลังที่สุดในเอกภพและช่วยให้มนุษย์เราทำตามพระประสงค์ของพระยะโฮวาได้. โดยอาศัยอำนาจแห่งพระวิญญาณ คริสเตียนในศตวรรษแรกทำงานอันใหญ่โตในการประกาศให้สำเร็จได้. พวกเขาประกาศข่าวดี “ท่ามกลางมนุษย์ทั้งหลายที่อยู่ใต้ฟ้า.” (โกโล. 1:23) เมื่อคำนึงถึงว่าพวกเขาส่วนใหญ่เป็น “สามัญชนที่เรียนมาน้อย” จึงเห็นได้ชัดว่าพวกเขาได้รับการกระตุ้นจากพลังที่เหนือกว่า.—กิจ. 4:13
14. อะไรสามารถช่วยเราได้ให้ “มีใจแรงกล้าเนื่องด้วยพระวิญญาณ”?
โรม 12:11) เมื่อกล่าวถึง ‘ชาวยิวคนหนึ่งที่ได้มาถึงเมืองเอเฟโซส์ซึ่งชื่ออะโปลโลสซึ่งเป็นชาวอะเล็กซานเดรียโดยกำเนิดและเป็นคนมีคารมดี’ คัมภีร์ไบเบิลกล่าวว่า “ด้วยความมีใจแรงกล้าเนื่องด้วยพระวิญญาณ เขาจึงพูดและสอนเรื่องพระเยซูอย่างถูกต้อง.” (กิจ. 18:24, 25) โดย “มีจิตใจกระตือรือร้นด้วยพระวิญญาณ” เราสามารถแสดงความกล้ามากขึ้นในการประกาศตามบ้านและเมื่อประกาศอย่างไม่เป็นทางการ.—โรม 12:11, ฉบับ R73
14 การดำเนินชีวิตตามการชี้นำจากพระวิญญาณบริสุทธิ์สามารถกระตุ้นเราด้วยให้ทำงานรับใช้อย่างกล้าหาญ. ผลประโยชน์ที่เราได้รับจากการอธิษฐานขอพระวิญญาณเป็นประจำ, การศึกษาส่วนตัวอย่างขยันขันแข็งและอย่างมีความหมาย, การใคร่ครวญอย่างจริงจังในสิ่งที่เราอ่าน, และการเข้าร่วมการประชุมคริสเตียนเป็นประจำสามารถช่วยเราให้ “รุ่งโรจน์ด้วยพระวิญญาณ.” (15. การพูดด้วยความกล้ามากขึ้นเป็นประโยชน์อย่างไรต่อเรา?
15 การมีความกล้ามากขึ้นในการประกาศส่งผลกระทบที่ดีต่อเรา. ทัศนคติของเราจะดีขึ้นเพราะเราเข้าใจมากขึ้นถึงความสำคัญและผลประโยชน์ของงานที่เราทำ. เมื่อเราทำงานรับใช้อย่างมีประสิทธิภาพเราก็จะมีความยินดีมากขึ้น ซึ่งส่งผลให้เรามีความกระตือรือร้นยิ่งขึ้น. และเมื่อเราสำนึกมากขึ้นถึงความเร่งด่วนของงานประกาศ นั่นก็จะเสริมให้เรากระตือรือร้นมากขึ้นด้วย.
16. เราควรทำอะไรถ้าความกระตือรือร้นของเราในงานรับใช้ลดลง?
16 เราควรทำอย่างไรถ้าเราสูญเสียความกระตือรือร้นในงานรับใช้หรือไม่ได้เอาจริงเอาจังกับงานนี้เหมือนเมื่อก่อน? ถ้าอย่างนั้น เราต้องตรวจสอบตัวเองอย่างซื่อสัตย์. เปาโลเขียนว่า “จงหมั่นทดสอบว่าท่านทั้งหลายยึดมั่นกับหลักความเชื่อหรือไม่ จงหมั่นพิสูจน์ยืนยันตัวท่าน.” (2 โค. 13:5) จงถามตัวเองว่า ‘ฉันยังคงมีใจแรงกล้าเนื่องด้วยพระวิญญาณไหม? ฉันอธิษฐานขอพระวิญญาณจากพระยะโฮวาไหม? คำอธิษฐานของฉันแสดงให้เห็นว่าฉันหมายพึ่งพระองค์ในการทำตามพระประสงค์ของพระองค์ไหม? ในคำอธิษฐานของฉัน มีถ้อยคำที่แสดงว่าฉันรู้สึกขอบคุณสำหรับงานรับใช้ที่พระองค์ทรงมอบหมายไหม? นิสัยการศึกษาส่วนตัวของฉันเป็นอย่างไร? ฉันใช้เวลามากน้อยเพียงไรในการใคร่ครวญสิ่งที่ได้อ่านและได้ยิน? ฉันมีส่วนร่วมในการประชุมประชาคมไหม?’ การใคร่ครวญคำถามแบบนี้อาจช่วยคุณให้เห็นว่าคุณยังมีข้อบกพร่องตรงไหนและจะได้แก้ไขต่อไป.
จงให้พระวิญญาณของพระเจ้าช่วยคุณมีความกล้า
17, 18. (ก) งานประกาศกำลังทำกันถึงขนาดไหนในทุกวันนี้? (ข) เราจะประกาศข่าวดีเรื่องราชอาณาจักรของพระเจ้า “ด้วยความมั่นใจยิ่ง” ได้อย่างไร?
17 พระเยซูผู้ถูกปลุกให้คืนพระชนม์ทรงบอกเหล่าสาวกว่า “พวกเจ้าจะได้รับฤทธิ์เมื่อพระวิญญาณบริสุทธิ์มาบนเจ้า และเจ้าจะเป็นพยานฝ่ายเราในกรุงเยรูซาเลมและทั่วแคว้นยูเดียกับแคว้นซะมาเรีย และจนถึงที่สุดปลายแผ่นดินโลก.” (กิจ. 1:8) งานซึ่งเริ่มทำตั้งแต่ตอนนั้นกำลังทำกันอยู่ในเวลานี้ในระดับและขอบเขตที่ไม่เคยทำกันมาก่อน. พยานพระยะโฮวากว่าเจ็ดล้านคนกำลังประกาศข่าวสารเรื่องราชอาณาจักรในกว่า 230 ดินแดน และใช้เวลาในการรับใช้เกือบ 1,500 ล้านชั่วโมงในแต่ละปี. ช่างน่าตื่นเต้นสักเพียงไรที่เราสามารถมีส่วนร่วมอย่างกระตือรือร้นในงานนี้ซึ่งจะไม่มีการทำซ้ำอีก!
18 เช่นเดียวกับในศตวรรษแรก งานประกาศทั่วโลกในทุกวันนี้ได้รับการชี้นำจากพระวิญญาณของพระเจ้า. ถ้าเราตอบรับต่อการชี้นำจากพระวิญญาณ เราจะทำงานรับใช้ “ด้วยความมั่นใจยิ่ง.” (กิจ. 28:31) ดังนั้น จงให้พระวิญญาณชี้นำเราขณะที่เราประกาศข่าวดีเรื่องราชอาณาจักรของพระเจ้า!
[เชิงอรรถ]
^ วรรค 7 ชื่อสมมุติ.
^ วรรค 11 เพื่อจะได้ประโยชน์มากที่สุดจากการอ่านคัมภีร์ไบเบิลและการศึกษาส่วนตัว โปรดดูหนังสือการรับประโยชน์จากโรงเรียนการรับใช้ตามระบอบของพระเจ้า ในบท“จงเอาใจใส่การอ่าน” และ “การศึกษาให้ผลตอบแทน” หน้า 21-32.
คุณได้เรียนรู้อะไรบ้าง?
• เหตุใดเราจำเป็นต้องมีความกล้าในการกล่าวพระคำของพระเจ้า?
• อะไรช่วยเหล่าสาวกรุ่นแรกให้พูดอย่างกล้าหาญ?
• เราจะมีความกล้าหาญได้อย่างไร?
• การมีความกล้าหาญเป็นประโยชน์อย่างไรต่อเรา?
[คำถาม]
[ภาพหน้า 7]
บิดามารดาจะช่วยลูกให้มีความกล้าได้อย่างไร?
[ภาพหน้า 8]
การอธิษฐานสั้น ๆ อาจช่วยคุณให้รวบรวมความกล้าในการประกาศ