คริสเตียนแท้นับถือพระคำของพระเจ้า
“คำของพระองค์เป็นความจริง.”—โย. 17:17
1. จากประสบการณ์ของคุณเอง จงบอกว่าพยานพระยะโฮวาต่างจากกลุ่มศาสนาอื่น ๆ อย่างไรในแง่ที่สำคัญ.
ขอให้นึกถึงครั้งแรกที่คุณพูดคุยกับพยานพระยะโฮวา. คุณยังจำเรื่องที่คุยกันได้ไหม? หลายคนอาจตอบว่า ‘ฉันประทับใจที่พยานฯ ใช้คัมภีร์ไบเบิลตอบคำถามทุกข้อที่ฉันถาม.’ เราดีใจสักเพียงไรที่เรารู้พระประสงค์ของพระเจ้าสำหรับแผ่นดินโลก เกิดอะไรขึ้นเมื่อคนเราตาย และมีความหวังอะไรสำหรับคนที่เรารักที่ตายไป!
2. มีเหตุผลอะไรบ้างที่คุณเห็นว่าคัมภีร์ไบเบิลมีคุณค่า?
2 อย่างไรก็ตาม เมื่อเราศึกษามากขึ้น เราก็ตระหนักว่าคัมภีร์ไบเบิลให้อะไรแก่เรามากยิ่งกว่าคำตอบสำหรับคำถามในเรื่องชีวิต ความตาย และอนาคต. เราเริ่มเห็นคุณค่าว่าคัมภีร์ไบเบิลเป็นหนังสือที่เป็นประโยชน์ที่สุดในโลก. คำแนะนำในพระคัมภีร์ใช้ได้ทุกยุคทุกสมัย และคนที่ทำตามคำแนะนำเหล่านั้นอย่างแท้จริงจะประสบความสำเร็จและมีความสุข. (อ่านบทเพลงสรรเสริญ 1:1-3) คริสเตียนแท้รับคัมภีร์ไบเบิลไว้ “ไม่ใช่อย่างคำของมนุษย์ แต่อย่างที่พระคำนั้นเป็นจริง ๆ คือเป็นพระคำของพระเจ้า.” (1 เทส. 2:13) การทบทวนเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ด้วยกันสั้น ๆ จะเน้นให้เห็นความแตกต่างอย่างชัดเจนระหว่างคนที่นับถือพระคำของพระเจ้าอย่างแท้จริงกับคนที่ไม่นับถือ.
ปัญหายุ่งยากได้รับการแก้ไข
3. มีปัญหาอะไรที่อาจทำลายเอกภาพของประชาคมคริสเตียนในศตวรรษแรก และอาจเกิดความเสี่ยงเช่นไร?
3 ในช่วง 13 ปีหลังจากการเจิมคนต่างชาติที่ไม่ได้รับสุหนัตคนแรก คือคอร์เนลิอุส มีปัญหาอย่างหนึ่งเกิดขึ้นที่อาจทำลายเอกภาพของประชาคมคริสเตียน. มีคนต่างชาติรับเอาความเชื่อของคริสเตียนเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ. คำถามคือ คนเหล่านี้ควรรับสุหนัตตามธรรมเนียมของชาวยิวก่อนจะรับบัพติสมาไหม? นี่ไม่ใช่คำถามที่ตอบได้ง่ายสำหรับชาวยิว. ชาวยิวที่ปฏิบัติตามพระบัญญัติจะไม่เข้าไปในบ้านของคนต่างชาติด้วยซ้ำ อย่าว่าแต่จะเป็นเพื่อนกับพวกกลา. 2:11-14
เขา. คริสเตียนชาวยิวถูกข่มเหงอย่างรุนแรงอยู่แล้วเพราะละทิ้งศาสนายิว. ถ้าพวกเขาจะถึงกับต้อนรับคนต่างชาติที่ไม่ได้รับสุหนัตให้มาอยู่ในกลุ่มของพวกเขา นั่นคงทำให้เกิดความแตกแยกมากขึ้นไปอีกระหว่างชาวยิวที่ยึดมั่นในศาสนายิวกับคริสเตียน และยิ่งจะทำให้คริสเตียนถูกตำหนิมากขึ้น.—4. ใครเข้ามาแก้ปัญหานี้ และมีคำถามอะไรที่อาจเกิดขึ้นในใจของผู้สังเกตการณ์เกี่ยวกับการแก้ปัญหานี้?
4 ในสากลศักราช 49 เหล่าอัครสาวกและผู้เฒ่าผู้แก่ในกรุงเยรูซาเลม ซึ่งล้วนเป็นชาวยิวที่รับสุหนัต “ประชุมกันเพื่อพิจารณาเรื่องนี้.” (กิจ. 15:6) การประชุมของพวกเขาไม่ใช่เป็นการถกกันทางศาสนาที่น่าเบื่อเกี่ยวกับรายละเอียดหยุม ๆ หยิม ๆ แต่เป็นการพิจารณาคำสอนของคัมภีร์ไบเบิลอย่างมีชีวิตชีวา. มีความคิดเห็นแตกกันเป็นสองฝ่าย และแต่ละฝ่ายแสดงความคิดเห็นของตนอย่างหนักแน่น. ความชอบส่วนตัวหรืออคติจะครอบงำการตัดสินของพวกเขาไหม? ผู้เฒ่าผู้แก่ที่มีหน้าที่รับผิดชอบจะเลื่อนการตัดสินออกไปจนกว่าบรรยากาศทางศาสนาในประเทศอิสราเอลจะดีขึ้นและทำให้พวกเขาตัดสินได้ง่ายขึ้นไหม? หรือจะมีการอะลุ่มอล่วยโดยที่ผู้สนับสนุนแต่ละฝ่ายเปลี่ยนจุดยืนของตนจนกว่าจะบรรลุความเห็นที่เป็นเอกฉันท์อย่างใดอย่างหนึ่งในที่สุด?
5. การประชุมที่กรุงเยรูซาเลมใน ส. ศ. 49 ต่างกันอย่างไรกับการประชุมสังคายนาของสภาคริสตจักรที่จัดขึ้นหลายครั้งในช่วงหลายศตวรรษหลังจากนั้น?
5 การอะลุ่มอล่วยและการวิ่งเต้นหาเสียงสนับสนุนเป็นเรื่องธรรมดาในการประชุมสังคายนาของสภาคริสตจักรสมัยปัจจุบัน. แต่ในการประชุมที่กรุงเยรูซาเลม ไม่มีการอะลุ่มอล่วย และไม่มีการวิ่งเต้นหาเสียง. นอกจากนั้น มีการตัดสินอย่างเป็นเอกฉันท์. เป็นเช่นนั้นได้อย่างไร? แม้ว่าผู้เข้าร่วมประชุมแต่ละคนยึดมั่นในความเห็นของตนอย่างมาก แต่ทุกคนที่อยู่ที่นั่นนับถือพระคำของพระเจ้า และข้อเขียนศักดิ์สิทธิ์เป็นกุญแจสำคัญในการแก้ปัญหา.—อ่านบทเพลงสรรเสริญ 119:97-101
6, 7. มีการใช้พระคัมภีร์เพื่อแก้ปัญหาในประเด็นเกี่ยวกับการรับสุหนัตอย่างไร?
6 ข้อความตอนหนึ่งที่ช่วยแก้ปัญหาในประเด็นนี้คืออาโมศ 9:11, 12 ซึ่งกิจการ 15:16, 17 ยกข้อความมาว่า “เราจะกลับมาสร้างพลับพลาของดาวิดซึ่งพังไปแล้วขึ้นใหม่ และส่วนที่หักพังไปแล้วนั้นเราจะสร้างและตั้งขึ้นใหม่ เพื่อคนที่เหลืออยู่ จะแสวงหาพระยะโฮวาอย่างจริงจังร่วมกับประชาชนจากทุกชาติ คือประชาชนซึ่งมีชื่อเรียกตามนามของเรา พระยะโฮวาตรัสไว้เช่นนี้.”
7 บางคนอาจคัดค้านว่า ‘แต่พระคัมภีร์ข้อนี้ไม่ได้บอกว่าผู้เชื่อถือชาวต่างชาติไม่จำเป็นต้องรับสุหนัต.’ จริงอยู่ที่ข้อนี้ไม่ได้บอกตรง ๆ แต่คริสเตียนชาวยิวคงเข้าใจว่าเป็นอย่างนั้น. พวกเขาไม่ได้ถือว่าชาวต่างชาติที่รับสุหนัต เป็น ‘ประชาชนจากชาติต่าง ๆ’ แต่ถือว่าพวกเขาเป็นพี่น้อง. (เอ็ก. 12:48, 49) ยกตัวอย่าง ในฉบับเซปตัวจินต์ ของแบกสเตอร์ เอศเธระ 8:17 อ่านว่า “ชาวต่างชาติเป็นอันมากได้รับสุหนัต และเข้ามาเป็นยิว.” ด้วยเหตุนั้น เมื่อพระคัมภีร์บอกล่วงหน้าว่าคนที่เหลืออยู่แห่งเรือนอิสราเอล (ชาวยิวและคนที่เปลี่ยนมานับถือศาสนายิวซึ่งรับสุหนัต) ร่วมกับ “ประชาชนจากทุกชาติ” (คนต่างชาติที่ไม่รับสุหนัต) จะกลายเป็นประชาชนเพื่อพระนามของพระเจ้า ความหมายของข้อความดังกล่าวจึงชัดเจน. การรับสุหนัตไม่ใช่ข้อเรียกร้องสำหรับชาวต่างชาติที่ต้องการเข้ามาเป็นคริสเตียน.
8. เหตุใดคริสเตียนชาวยิวต้องกล้าหาญเพื่อจะตัดสินอย่างนั้น?
8 พระคำของพระเจ้าและพระวิญญาณของพระองค์ชี้นำคริสเตียนที่จริงใจเหล่านั้นให้ “เห็นพ้องต้องกัน.” (กิจ. 15:25) แม้ว่าการตัดสินอย่างนั้นคงจะทำให้คริสเตียนชาวยิวถูกข่มเหงมากขึ้น แต่ผู้ซื่อสัตย์เหล่านี้สนับสนุนการตัดสินที่ใช้คัมภีร์ไบเบิลเป็นหลักอย่างเต็มที่.—กิจ. 16:4, 5
ความแตกต่างที่เห็นได้ชัด
9. สาเหตุสำคัญอย่างหนึ่งที่ทำให้การนมัสการแท้มีมลทินคืออะไร และคำสอนสำคัญอะไรที่ถูกทำให้เสื่อมเสีย?
9 อัครสาวกเปาโลบอกล่วงหน้าว่าหลังจากที่เหล่าอัครสาวกเสียชีวิตไปหมดแล้ว คำสอนเท็จจะ2 เทสซาโลนิเก 2:3, 7) ในบรรดาคนที่จะไม่ยอมฟัง “คำสอนที่ก่อประโยชน์” มีบางคนที่อยู่ในตำแหน่งที่มีความรับผิดชอบด้วย. (2 ติโม. 4:3) เปาโลเตือนผู้ปกครองในสมัยของท่านว่า “จะมีพวกท่านบางคน พูดบิดเบือนความจริงเพื่อชักนำเหล่าสาวกให้ติดตามพวกเขาไป.” (กิจ. 20:30) สารานุกรมบริแทนนิกาฉบับใหม่ พรรณนาสาเหตุสำคัญอย่างหนึ่งที่ทำให้พวกเขาหาเหตุผลอย่างบิดเบือนว่า “คริสเตียนที่ได้รับการฝึกอบรมด้านปรัชญากรีกเริ่มคิดว่าจำเป็นจะต้องอธิบายความเชื่อของพวกเขาโดยอาศัยปรัชญากรีก ทั้งเพื่อสนองความพึงพอใจด้านสติปัญญาของตัวเองและเพื่อจะเปลี่ยนชาวนอกรีตที่มีการศึกษาให้มาเป็นผู้มีความเชื่อ.” หลักคำสอนสำคัญอย่างหนึ่งที่พวกเขานำแนวคิดแบบนอกรีตเข้ามาปะปนและทำให้ผิดเพี้ยนไปก็คือคำสอนที่ว่าพระเยซูคริสต์เป็นใคร. คัมภีร์ไบเบิลเรียกพระองค์ว่าพระบุตรของพระเจ้า ส่วนพวกที่นิยมปรัชญากรีกยืนกรานว่าพระองค์เป็นพระเจ้า.
เข้ามาแปดปนความเชื่อของคริสเตียน. (อ่าน10. ประเด็นที่ว่าพระคริสต์เป็นใครอาจตกลงกันได้โดยวิธีใด?
10 ประเด็นนี้ถูกหยิบยกขึ้นมาถกกันในที่ประชุมสังคายนาของสภาคริสตจักรหลายครั้ง. ประเด็นนี้จะสามารถตกลงกันได้อย่างง่ายดายถ้าผู้เข้าร่วมการประชุมเหล่านั้นให้ความสำคัญอย่างเหมาะสมแก่พระคัมภีร์ แต่ส่วนใหญ่ไม่ได้ทำอย่างนั้น. ที่จริง ส่วนใหญ่ตัดสินใจไว้แล้วก่อนจะมาถึงการประชุมสังคายนาของสภา และพวกเขากลับไปด้วยความเชื่อมั่นในจุดยืนของตัวเองอย่างฝังแน่นยิ่งกว่าเดิม. กฎข้อบังคับและถ้อยแถลงที่เป็นผลมาจากการประชุมเหล่านั้นแทบจะไม่อ้างถึงพระคัมภีร์เลยด้วยซ้ำ.
11. มีการให้ความสำคัญเช่นไรแก่อำนาจและอิทธิพลของคนที่เรียกกันว่านักเขียนแห่งคริสตจักรโบราณ และเหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น?
11 ทำไมพวกเขาไม่ใช้พระคัมภีร์ในการตัดสินของพวกเขาให้มากกว่านั้น? ผู้คงแก่เรียนชาลส์ ฟรีแมน ให้คำตอบว่าคนที่เชื่อว่าพระเยซูเป็นพระเจ้า “รู้สึกว่าเป็นเรื่องยากที่จะปฏิเสธคำตรัสหลายครั้งของพระเยซูที่บ่งบอกว่าพระองค์มีฐานะต่ำกว่าพระเจ้าพระบิดา.” ผลก็คือ พวกเขาได้ให้คำสอนสืบปากของคริสตจักรและความเห็นของผู้มีอำนาจในยุคหลังเข้ามาแทนที่หนังสือกิตติคุณ. จนกระทั่งทุกวันนี้ นักบวชจำนวนมากให้ความสำคัญแก่คำกล่าวที่ไม่ได้รับการดลใจของคนที่พวกเขาเรียกกันว่านักเขียนแห่งคริสตจักรโบราณยิ่งกว่าพระคำของพระเจ้า! ถ้าคุณเคยถกเกี่ยวกับคำสอนเรื่องตรีเอกานุภาพกับคนที่จบจากโรงเรียนนักธรรม คุณคงสังเกตแล้วว่าเป็นอย่างนั้นจริง.
12. จักรพรรดิใช้อำนาจและอิทธิพลในทางที่ไม่ดีเช่นไร?
12 สิ่งหนึ่งที่น่าสังเกตเกี่ยวกับการถกกัน ณ การประชุมสังคายนาเหล่านั้นคือการแทรกแซงของจักรพรรดิโรมัน. ศาสตราจารย์ริชาร์ด อี. รูเบนสไตน์ เขียนเกี่ยวกับการแทรกแซงดังกล่าวในการประชุมสังคายนาที่นีเซียว่า “จักรพรรดิคอนสแตนตินแสดงความโปรดปรานและประทานความร่ำรวยเหลือล้นแก่ [บิชอปทั้งหลาย] อย่างที่เกินความฝันเฟื่องของพวกเขาเสียอีก. ภายในเวลาไม่ถึงปี จักรพรรดิองค์ใหม่ผู้นี้ได้คืนโบสถ์ให้พวกเขาหรือสร้างใหม่ให้เกือบทั้งหมด มอบคืนงานและยศตำแหน่งที่พวกเขาเคยถูกริบไป . . . คอนสแตนตินประทานสิทธิพิเศษต่าง ๆ แก่นักบวชคริสเตียนอย่างเดียวกับที่เมื่อก่อนได้ประทานแก่พวกปุโรหิตนอกรีต.” ผลคือ “คอนสแตนตินอยู่ในฐานะที่มีอิทธิพลอย่างยิ่งหรืออาจถึงกับมีอำนาจบงการการตัดสิน ณ การประชุมสังคายนาที่นีเซีย.” ชาลส์ ฟรีแมนยืนยันว่า “เหตุการณ์นี้จึงกลายเป็นบรรทัดฐานว่าจักรพรรดิอาจเข้าแทรกแซงไม่เพียงเพื่อสร้างความมั่นคงเข้มแข็งให้คริสตจักร แต่อาจมีอิทธิพลในการกำหนดหลักข้อเชื่อของคริสตจักรด้วย.”—อ่านยาโกโบ 4:4
13. เหตุใดเหล่าผู้นำของคริสตจักรไม่สนใจคำสอนที่ชัดเจนของคัมภีร์ไบเบิล?
13 แม้ว่าผู้มีตำแหน่งสูงในคริสตจักรรู้สึกว่ายากที่จะบอกให้แน่ชัดได้ว่าพระเยซูคริสต์ทรงอยู่ในฐานะใด แต่สามัญชนจำนวนมากไม่มีปัญหาในเรื่องนี้. เนื่องจากพวกเขาไม่สนใจทรัพย์สินเงินทองหรือ
ความก้าวหน้าในอาชีพการงานอย่างที่พวกนักบวชได้รับจากจักรพรรดิ พวกเขาจึงสามารถมองเรื่องต่าง ๆ ตามความเป็นจริง โดยอาศัยพระคัมภีร์เป็นหลัก. และตามข้อมูลที่มีอยู่ พวกเขาทำอย่างนั้นจริง. เกรกอรีแห่งนิสซา ซึ่งเป็นนักศาสนศาสตร์ในสมัยนั้น ได้ให้ความเห็นในเชิงเย้ยหยันสามัญชนว่า “พวกพ่อค้าผ้า พวกรับแลกเงิน และคนขายของชำกลายเป็นนักศาสนศาสตร์กันหมด. ถ้าคุณถามเรื่องค่าเงิน นักปรัชญาเหล่านี้ก็จะอธิบายว่าพระบุตรต่างกับพระบิดาตรงไหน. ถ้าคุณถามเรื่องราคาขนมปัง คำตอบที่คุณจะได้ก็คือพระบิดาเป็นใหญ่กว่าพระบุตร. หากคุณอยากรู้ว่ามีน้ำจะให้คุณอาบแล้วหรือยัง พวกเขาก็จะประกาศออกมาว่าพระบุตรถูกสร้างขึ้นจากความว่างเปล่า.” ใช่แล้ว ไม่เหมือนกับสมาชิกของคณะปกครองคริสตจักร สามัญชนหลายคนลงความเห็นโดยใช้พระคำของพระเจ้าเป็นหลักฐานสนับสนุน. เกรกอรีและเพื่อนร่วมงานน่าจะฟังคนเหล่านี้!“ข้าวสาลี” และ “วัชพืช” เติบโตไปด้วยกัน
14. เหตุใดเราจึงลงความเห็นได้ว่านับตั้งแต่ศตวรรษแรกเป็นต้นมาคงต้องมีบางคนที่เป็นคริสเตียนผู้ถูกเจิมแท้อยู่บนแผ่นดินโลกเสมอ?
14 ในอุทาหรณ์ พระเยซูทรงบ่งชี้ว่าตั้งแต่ศตวรรษแรกเป็นต้นมา จะมีบางคนที่เป็นคริสเตียนผู้ถูกเจิมแท้อยู่บนแผ่นดินโลกเสมอ. พระองค์ทรงเปรียบพวกเขาเป็น “ข้าวสาลี” ที่เติบโตอยู่ท่ามกลาง “วัชพืช.” (มัด. 13:30) แม้ว่าเราไม่อาจกล่าวได้อย่างแน่ชัดว่าคนไหนหรือชนกลุ่มใดที่เป็นชนชั้นผู้ถูกเจิมที่เปรียบดุจข้าวสาลี แต่เรายืนยันได้ว่ามีบางคนที่ปกป้องพระคำของพระเจ้าอย่างกล้าหาญและเปิดโปงคำสอนที่ไม่เป็นไปตามหลักพระคัมภีร์มาโดยตลอด. ขอให้เราพิจารณาตัวอย่างของบางคนที่ทำอย่างนี้.
15, 16. จงบอกชื่อบางคนที่แสดงความนับถือต่อพระคำของพระเจ้า.
15 อาร์ชบิชอปอะโกบาร์ดแห่งลียง ประเทศฝรั่งเศส (779-840 สากลศักราช) กล่าวตำหนิการใช้รูปเคารพในการนมัสการ การอุทิศโบสถ์วิหารให้แก่นักบุญ รวมถึงพิธีสวดและศาสนกิจต่าง ๆ ที่ไม่เป็นไปตามหลักพระคัมภีร์. บิชอปคลาวดิอุส ซึ่งอยู่ในสมัยเดียวกัน ก็ปฏิเสธคำสอนสืบปากของคริสตจักรและไม่เห็นด้วยกับการอธิษฐานถึงนักบุญและการบูชาวัตถุมงคลเช่นกัน. ในศตวรรษที่ 11 รองหัวหน้าเจ้าคณะนักเทศน์เบเรนกาเรียสแห่งตูร์ ประเทศฝรั่งเศส ถูกขับออกจากคริสตจักรเพราะปฏิเสธข้อเชื่อของคาทอลิกเรื่องการแปรสาร (คำสอนที่ว่าขนมปังและเหล้าองุ่นจะเปลี่ยนเป็นพระกายและพระโลหิตจริง ๆ ของพระคริสต์). นอกจากนั้น เขายังถือว่าคัมภีร์ไบเบิลสูงส่งกว่าคำสอนสืบปากของคริสตจักรด้วย.
16 เมื่อถึงศตวรรษที่ 12 มีอีกสองคนที่เรารู้จักว่ารักความจริงในคัมภีร์ไบเบิล คือปีเตอร์แห่งบรุยส์และเฮนรีแห่งโลซาน. ปีเตอร์ลาออกจากการเป็นนักบวชเพราะเขาไม่สามารถเชื่อมโยงคำสอนในพระคัมภีร์ให้เข้ากันได้กับคำสอนของคาทอลิกเรื่อง
การรับบัพติสมาให้ทารก การแปรสาร การอธิษฐานเพื่อผู้ตาย และการนมัสการไม้กางเขน. ในปี 1140 ปีเตอร์ถูกเผาทั้งเป็นเนื่องจากเขายึดมั่นในความเชื่อของตน. เฮนรี ซึ่งเป็นนักบวช กล่าวตำหนิการกระทำอันเสื่อมทรามและคำสอนเกี่ยวกับพิธีสวดของคริสตจักร. เขาถูกจับกุมในปี 1148 และถูกขังคุกตลอดชีวิต.17. วัลโดและสานุศิษย์ของเขาทำอะไรที่เป็นเรื่องสำคัญ?
17 ประมาณเวลาเดียวกับที่ปีเตอร์แห่งบรุยส์ถูกเผาทั้งเป็นด้วยเหตุที่กล้าวิพากษ์วิจารณ์คริสตจักร มีคนหนึ่งเกิดมาซึ่งในภายหลังได้กลายเป็นผู้ที่มีอิทธิพลอย่างยิ่งในการแพร่กระจายความจริงในคัมภีร์ไบเบิล. ชื่อสกุลของเขาคือวัลเดสหรือวัลโด. * เขาผู้นี้ไม่เหมือนกับปีเตอร์แห่งบรุยส์และเฮนรีแห่งโลซานตรงที่เขาไม่ได้เป็นนักบวช. แต่เขาเห็นว่าพระคำของพระเจ้ามีค่าสูงยิ่งจนถึงกับเสียสละทรัพย์สินของตนและดำเนินการให้มีการแปลคัมภีร์ไบเบิลบางส่วนเป็นภาษาหนึ่งที่พูดกันทั่วไปทางตะวันออกเฉียงใต้ของฝรั่งเศส. บางคนตื่นเต้นมากที่ได้ยินข่าวสารของคัมภีร์ไบเบิลในภาษาของตนเอง พวกเขาจึงเสียสละทรัพย์สินของตนและอุทิศชีวิตเพื่อบอกความจริงในคัมภีร์ไบเบิลแก่คนอื่น ๆ ด้วย. คริสตจักรไม่พอใจเรื่องนี้อย่างยิ่ง. ในปี 1184 ชายหญิงที่มีใจแรงกล้าเหล่านี้ ซึ่งเรียกกันในเวลาต่อมาว่าพวกวัลเดนส์ ถูกสันตะปาปาขับออกจากศาสนาและถูกบิชอปเนรเทศออกจากบ้านของพวกเขา. การทำอย่างนี้กลับกลายเป็นการแพร่กระจายข่าวสารในคัมภีร์ไบเบิลไปยังพื้นที่อื่น ๆ. ในที่สุด บรรดาสานุศิษย์ของวัลโด ปีเตอร์แห่งบรุยส์ และเฮนรีแห่งโลซาน รวมทั้งผู้คัดค้านคนอื่น ๆ ก็อยู่ในหลายส่วนของยุโรป. มีอีกหลายคนที่ปกป้องความจริงในคัมภีร์ไบเบิลปรากฏขึ้นมาในช่วงหลายศตวรรษหลังจากนั้น เช่น จอห์น วิคลิฟฟ์ (ประมาณ 1330-1384) วิลเลียม ทินเดล (ประมาณ 1494-1536) เฮนรี กรูว์ (1781-1862) และจอร์จ สตอรส์ (1796-1879).
‘พระคำของพระเจ้าไม่ถูกล่ามไว้’
18. นักศึกษาคัมภีร์ไบเบิลที่จริงใจในศตวรรษที่ 19 ใช้วิธีอะไรในการศึกษา และเหตุใดวิธีนั้นจึงมีประสิทธิภาพ?
18 แม้ว่าเหล่าศัตรูพยายาม แต่พวกเขาไม่สามารถขัดขวางการแพร่กระจายความจริงในคัมภีร์ไบเบิลได้. สองติโมเธียว 2:9 กล่าวว่า ‘พระคำของพระเจ้าไม่ถูกล่ามไว้.’ ในปี 1870 นักศึกษาคัมภีร์ไบเบิลที่จริงใจกลุ่มหนึ่งเริ่มสืบค้นหาความจริง. พวกเขาศึกษากันอย่างไร? จะมีบางคนตั้งคำถาม. พวกเขาจะพิจารณาคำถามนั้นด้วยกัน. พวกเขาจะค้นดูข้อคัมภีร์ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด จากนั้น เมื่อพวกเขาพอใจกับความสอดคล้องต้องกันของเนื้อความในข้อคัมภีร์เหล่านั้น พวกเขาก็จะลงความเห็นและบันทึกไว้. คุณคงรู้สึกมั่นใจมิใช่หรือว่า เช่นเดียวกับเหล่าอัครสาวกและผู้เฒ่าผู้แก่ในศตวรรษแรก ชายผู้ซื่อสัตย์เหล่านี้ซึ่งเป็น “บรรพบุรุษฝ่ายวิญญาณ” ของเราในช่วงต้นประวัติศาสตร์ของพยานพระยะโฮวาตั้งใจแน่วแน่ในการทำให้ความเชื่อของตนสอดคล้องกับพระคำของพระเจ้าอย่างแท้จริง?
19. ข้อคัมภีร์ประจำปี 2012 คืออะไร และเหตุใดข้อคัมภีร์นี้จึงนับว่าเหมาะสม?
19 คัมภีร์ไบเบิลยังคงเป็นรากฐานความเชื่อของเรา. โดยคำนึงถึงเรื่องนี้ คณะกรรมการปกครองแห่งพยานพระยะโฮวาจึงได้เลือกคำตรัสที่แสดงถึงความเชื่อมั่นของพระเยซูเป็นข้อคัมภีร์ประจำปี 2012 ที่ว่า “คำของพระองค์เป็นความจริง.” (โย. 17:17) เนื่องจากทุกคนที่ต้องการให้พระเจ้าพอพระทัยต้องดำเนินในทางแห่งความจริง ขอให้เราทุกคนพยายามให้พระคำของพระเจ้าชี้นำชีวิตเราต่อ ๆ ไป.
[เชิงอรรถ]
^ วรรค 17 บางครั้งวัลเดสถูกเรียกด้วยชื่อปิแอร์ วัลเดส หรือปีเตอร์ วัลโด แต่ยังไม่อาจยืนยันได้ว่าเขาชื่อปิแอร์หรือปีเตอร์จริง ๆ ไหม.
[คำถาม]
[คำโปรยหน้า 8]
ข้อคัมภีร์ประจำปี 2012: “คำของพระองค์เป็นความจริง.”—โย. 17:17
[ภาพหน้า 7]
วัลโด
[ภาพหน้า 7]
วิคลิฟฟ์
[ภาพหน้า 7]
ทินเดล
[ภาพหน้า 7]
กรูว์
[ภาพหน้า 7]
สตอรส์