‘จงทำให้พระยะโฮวาปลาบปลื้มพระทัย’
วันสำเร็จการศึกษาของนักเรียนกิเลียดรุ่นที่ 131
‘จงทำให้พระยะโฮวาปลาบปลื้มพระทัย’
ครอบครัว เพื่อนฝูง และอีกหลายคนได้มาร่วมแสดงความยินดีในวันสำเร็จการศึกษาของนักเรียนโรงเรียนว็อชเทาเวอร์ไบเบิลแห่งกิเลียดรุ่นที่ 131 ซึ่งจัดขึ้นในวันที่ 10 กันยายน 2011. เช้าวันนั้นทั้งผู้บรรยายและนักเรียนต่างก็รู้สึกตื่นเต้นจนท้องไส้ปั่นป่วน. แต่เมื่อวันนั้นจบลงผู้เข้าร่วมทั้ง 9,063 คนก็รู้สึกผ่อนคลายและยิ้มแย้มอย่างมีความสุข. พวกเขาประทับใจกับคำบรรยาย การสาธิต และการสัมภาษณ์.
สตีเฟน เลตต์ สมาชิกคณะกรรมการปกครองของพยานพระยะโฮวาเป็นประธานกล่าวเปิดการประชุมในครั้งนี้. เขาอธิบายข้อคัมภีร์หลายข้อที่พูดถึงพระยะโฮวาพระเจ้าราวกับว่าพระองค์ทรงมีร่างกายเหมือนมนุษย์ และเขาได้เน้นข้อคัมภีร์บางข้อซึ่งพูดถึงวิธีที่พระยะโฮวาใช้พระเนตร พระกรรณ พระหัตถ์ และพระพาหุของพระองค์.
ข้อแรกที่ผู้บรรยายอ้างถึงคือ 2 โครนิกา 16:9 ซึ่งบอกว่าพระยะโฮวา “ทรงทอดพระเนตรไปทั่วพิภพโลก, เพื่อจะสำแดงว่าพระองค์ทรงฤทธานุภาพสถิตอยู่กับคนทั้งปวงที่มีใจซื่อสัตย์สุจริตต่อพระองค์.” ผู้บรรยายกระตุ้นนักเรียนให้รักษาหัวใจที่ภักดีต่อพระยะโฮวาแต่เพียงผู้เดียวเสมอ และสนับสนุนให้เลียนแบบพระเจ้าโดยมองหาส่วนดีของผู้คน. จากนั้น บราเดอร์เลตต์ได้พิจารณา 1 เปโตร 3:12 ซึ่งบอกว่าพระกรรณของพระยะโฮวาคอยฟังคำวิงวอนของคนชอบธรรม. เขากระตุ้นนักเรียนให้รักษาการติดต่อกับพระองค์โดยหมั่นอธิษฐานอยู่เสมอ และไม่ลืมว่าพระยะโฮวาทรงปรารถนาอย่างยิ่งที่จะรับฟังคำอธิษฐานของพวกเขา.
นอกจากนี้ ผู้บรรยายยังอ้างถึงยะซายา 41:13 ที่กล่าวว่า “เรา, ยะโฮวาพระเจ้าของเจ้า, กำลังยึดมือข้างขวาของเจ้าอยู่, กำลังกล่าวแก่เจ้าว่า, ‘อย่ากลัวเลย, เราจะช่วยเจ้า.’ ” บราเดอร์เลตต์กล่าวด้วยน้ำเสียงที่อบอุ่นและจริงใจว่า “ขอให้สังเกตคำตรัสที่ทำให้ซาบซึ้งใจของพระยะโฮวา. พระองค์ทรงยื่นพระหัตถ์มาจับมือเราไว้.” แล้วเขาก็แนะนำว่านักเรียนควรยอมให้พระยะโฮวาช่วยพวกเขาเสมอและอย่าปฏิเสธความช่วยเหลือจากพระองค์. เขายังสนับสนุนให้นักเรียนเลียนแบบพระยะโฮวาโดยยื่นมือให้ความช่วยเหลือแก่คนอื่น ๆ.
บราเดอร์เลตต์อ่านข้อคัมภีร์สุดท้ายที่ยะซายา 40:11 และชวนผู้ฟังให้นึกภาพตามไปด้วยถึงความรักอันอบอุ่นและอ่อนโยนของพระเจ้า. บราเดอร์เลตต์กล่าวว่า “พระยะโฮวาทรงอุ้มเราไว้ในพระพาหุของพระองค์. พระองค์ทรงกอดเราไว้ในพระทรวง.” เราควรตอบสนองความรักของพระองค์อย่างไร? เขาแนะนำว่านักเรียนควรทำตัวให้น่ารักน่าทะนุถนอมเหมือนลูกแกะตัวน้อยที่ขนนุ่มน่ากอด เพื่อพระยะโฮวาจะอยากกอดเอาไว้ในพระทรวงเสมอ.
“เรามีทรัพย์นั้นในภาชนะดิน”
เดวิด สเปลน สมาชิกอีกคนหนึ่งของคณะกรรมการปกครองเป็นผู้บรรยายเรื่องนี้. (2 โครินท์ 4:7) ทรัพย์ที่กล่าวถึงนี้คืออะไร? คือความรู้หรือสติปัญญาไหม? ผู้บรรยายตอบว่า “ไม่ใช่ ทรัพย์ที่อัครสาวกเปาโลกล่าวถึงคือ ‘งานรับใช้’ เพื่อ ‘ทำให้ความจริงปรากฏแจ้ง.’ ” (2 โครินท์ 4:1, 2, 5) บราเดอร์สเปลนบอกว่าการฝึกอบรมตลอดห้าเดือนที่ผ่านมาได้เตรียมนักเรียนให้พร้อมที่จะทำงานมอบหมายพิเศษ. พวกเขาควรถือว่างานมอบหมายนี้เป็นงานที่มีค่าสูงยิ่ง.
ผู้บรรยายอธิบายว่า “ภาชนะดิน” หมายถึงร่างกายของเรา. เขาเทียบให้เห็นความแตกต่างระหว่างภาชนะที่ทำจากดินกับภาชนะทองคำ. ภาชนะทองคำมักไม่ค่อยถูกนำออกมาใช้ แต่ภาชนะดินมีไว้เพื่อใช้งาน. ถ้าเราเก็บทรัพย์ไว้ในภาชนะทองคำ เราก็จะสนใจแต่ตัวภาชนะแทนที่จะสนใจทรัพย์ที่อยู่ข้างใน. บราเดอร์สเปลนบอกว่า “แต่
พวกคุณไม่ต้องการดึงความสนใจมาที่ตัวเอง. ในฐานะมิชชันนารี คุณคงอยากช่วยผู้คนให้มารู้จักพระยะโฮวา. พวกคุณเป็นเหมือนภาชนะดินที่ไม่ต้องการออกหน้าออกตา.”ผู้บรรยายกล่าวต่อไปว่าในสมัยคัมภีร์ไบเบิลภาชนะดินบางชนิดสามารถทนไฟได้ และบางชนิดก็ถูกนำไปเผาเคลือบด้วยความร้อนสูงเพื่อป้องกันไม่ให้ร้าวหรือแตกง่าย. จุดสำคัญคืออะไร? ในช่วงสองสามเดือนแรกที่มิชชันนารีเริ่มงานมอบหมาย พวกเขาจะต้องเจอกับการทดสอบที่เป็นเหมือนไฟในเตาเผา. แต่เมื่อเวลาผ่านไปพวกเขาจะแข็งแกร่งขึ้นและสามารถทนคำวิพากษ์วิจารณ์ต่าง ๆ ได้โดยไม่โกรธง่าย. บราเดอร์สเปลนบอกว่า “คุณจะพบว่าคุณเข้มแข็งกว่าที่คุณคิดเสียอีก.” พระยะโฮวาทรงมอบงานรับใช้ที่มีค่านี้ให้แก่ภาชนะดินอย่างคุณ แทนที่จะมอบให้เหล่าทูตสวรรค์. แล้วผู้บรรยายก็สรุปว่า “นั่นแสดงว่าพระยะโฮวาทรงเชื่อมั่นในตัวคุณ.”
‘ถ้าเจ้าวิ่งแข่งกับมนุษย์ . . . เจ้าจะแข่งกับม้าได้อย่างไร?’
แซมมูเอล เฮิร์ด สมาชิกคนหนึ่งของคณะกรรมการปกครองถามนักเรียนว่า “คุณวิ่งได้ไกลและเร็วแค่ไหน?” ทำไมเขาจึงถามเช่นนั้น? ผู้บรรยายเปรียบเทียบประสบการณ์ของนักเรียนกับผู้พยากรณ์ยิระมะยาห์. ผู้พยากรณ์ที่ซื่อสัตย์คนนี้เผชิญการต่อต้านข่มเหงอย่างหนัก. แต่ท่านยังจะต้องเจอการทดสอบที่หนักกว่านั้นอีก. ดังนั้น พระยะโฮวาจึงถามยิระมะยาห์ว่า ‘ถ้าเจ้าวิ่งแข่งกับมนุษย์และเขาทำให้เจ้าเหน็ดเหนื่อยเจ้าจะแข่งกับม้าได้อย่างไร?’—ยิระมะยา 12:5, ฉบับ R73
บราเดอร์เฮิร์ดบอกนักเรียนว่า “ตอนที่คุณทำข้อสอบ คุณคงรู้สึกว่าคุณได้วิ่งแข่งกับม้าแล้ว. แต่ที่จริงคุณก็แค่วิ่งแข่งกับคน ไม่ใช่ม้า. แต่เมื่อคุณไปที่เขตงาน ตอนนั้นแหละที่คุณจะได้วิ่งแข่งกับม้าเพราะคุณจะต้องเจอกับข้อท้าทายที่ยากและใหญ่โตเกินกว่าที่จะนึกออกได้ในตอนนี้. คุณจะรับมืออย่างไร? โรงเรียนกิเลียดได้ฝึกฝนคุณให้พร้อมที่จะวิ่งแข่งกับม้าโดยไม่หมดแรง.” ผู้บรรยายสนับสนุนนักเรียนให้ฝึกฝนตัวเองต่อไปโดยพยายามรักษากิจวัตรที่ดีในการศึกษาคัมภีร์ไบเบิลและหมั่นอธิษฐานอยู่เสมอ.
บราเดอร์เฮิร์ดยอมรับว่าบางคนที่ถูกส่งออกไปเป็นมิชชันนารีอาจเผชิญปัญหาที่ทำให้ท้อใจและเจอกับผู้คนที่ไม่แยแส. ส่วนบางคนก็อาจทุกข์ใจเพราะความเจ็บป่วยหรือรู้สึกว่าตัวเองไม่มีความสามารถ. แต่เขาให้ความมั่นใจกับนักเรียนว่า ยังมีผู้หนึ่งที่เป็นแหล่งแห่งกำลังซึ่งจะช่วยพวกเขาให้เอาชนะปัญหาเหล่านี้และวิ่งต่อไปโดยไม่หมดแรง. ผู้บรรยายบอกว่า “ไม่ว่าคุณจะวิ่งแข่งกับคนหรือกับม้า ขอให้มั่นใจว่าพระหัตถ์อันทรงฤทธิ์ของพระยะโฮวาสามารถนำคุณไปถึงเส้นชัยได้. ด้วยเหตุนี้ คุณก็สามารถเป็นมิชชันนารีที่ประสบความสำเร็จซึ่งทำให้พระยะโฮวาได้รับเกียรติและคำสรรเสริญ.”
จุดเด่นอื่น ๆ ของระเบียบวาระ
‘จงไปขอยืมมาให้มาก ๆ.’ จอห์น เอ็กรันน์ สมาชิกคณะกรรมการสาขาสหรัฐบรรยายเรื่องผู้พยากรณ์เอลีชาและหญิงม่ายคนหนึ่งที่ลูกของนางถูกขายไปเป็นทาส. (2 กษัตริย์ 4:1-7) หญิงม่ายคนนี้มีหม้อน้ำมันเล็ก ๆ เพียงใบเดียว. เอลีชาสั่งให้นางไปขอยืมภาชนะจากเพื่อนบ้านมาอีก. ท่านบอกว่า “จงไปขอยืม . . . มาให้มาก ๆ.” พระยะโฮวาให้เอลีชาทำการอัศจรรย์โดยทำให้ภาชนะทุกใบที่หญิงม่ายหามาได้เต็มไปด้วยน้ำมัน. หญิงม่ายจึงนำน้ำมันไปขายและได้เงินมาใช้หนี้จนหมดแถมยังมีเงินเหลือไว้ใช้สอยในครอบครัวได้อีก.
เรื่องนี้ให้บทเรียนอะไรแก่ผู้ที่กำลังจะไปเป็นมิชชันนารี? เมื่อหญิงม่ายไปหาภาชนะมาเพิ่ม เธอไม่มัวแต่จุกจิกเรื่องมาก. ผู้บรรยายบอกว่า “เธอคงไม่เกี่ยงว่าจะเป็นภาชนะอะไร ขอให้ใส่น้ำมันได้ ยิ่งใหญ่ก็ยิ่งดี.” แล้วเขาก็สนับสนุนนักเรียนให้ยินดีรับงานมอบหมายทุกอย่าง ไม่ว่าใหญ่หรือเล็ก. บราเดอร์เอ็กรันน์บอกว่า “อย่าเป็นคนเรื่องมาก.” เขายังเตือนนักเรียนด้วยว่า พระพรที่หญิงม่ายได้รับนั้นขึ้นอยู่กับว่านางเชื่อฟังคำสั่งของเอลีชามากแค่ไหน. จุดสำคัญคืออะไร? พระพรที่เราได้รับก็ขึ้นอยู่กับว่าเรากระตือรือร้นและมีความเชื่อมากเพียงไร. ผู้บรรยายบอกว่า “จงทำให้เต็มที่ อย่าหวงตัว.”
อาฤธโม 14:9. เขาเน้นตัวอย่างที่ดีของยะโฮซูอะกับคาเลบ. คำว่า “อาหาร” ในข้อคัมภีร์นี้หมายถึงชาวคะนาอันซึ่งเป็นศัตรูที่เอาชนะได้ง่าย และเมื่อชาวอิสราเอลมีชัยแล้วพวกเขาก็จะรู้สึกมีกำลังกายกำลังใจมากขึ้น. เรื่องนี้ให้บทเรียนอะไร? ผู้บรรยายบอกกับนักเรียนว่า “เมื่อคุณไปรับใช้ในเขตงาน ขอให้มองอุปสรรคและปัญหาต่าง ๆ ว่าเป็นสิ่งที่เสริมสร้างความเชื่อและกำลังของคุณ.”
“เขาทั้งหลายเป็นอาหารของเรา.” นี่เป็นหัวข้อคำบรรยายของวิลเลียม แซมมูเอลสัน ผู้ดูแลแผนกโรงเรียนตามระบอบของพระเจ้า ซึ่งยกมาจาก“ความเชื่อของพวกเขาจะเป็นเหมือนเรือที่ทอดสมออย่างมั่นคงเพื่อต้านพายุที่กำลังมาไหม?” ผู้สอนคนหนึ่งชื่อแซม โรเบอร์สัน พูดถึงคำเตือนของอัครสาวกเปาโลที่ว่าความเชื่อของบางคน “พังทลายเหมือนเรืออับปาง.” (1 ติโมเธียว 1:19) เขากระตุ้นนักเรียนให้ช่วยคนอื่นให้มีความเชื่อมั่นคงในพระยะโฮวาพระเจ้าเหมือนสมอเรือที่มั่นคงแข็งแรง. เขากล่าวว่า “งานของคุณเปรียบได้กับงานของช่างตีเหล็ก.” ในแง่ไหน? ช่างตีเหล็กจะเชื่อมห่วงโซ่แต่ละข้อเข้าด้วยกันเพื่อจะยึดสมอเรือไว้ให้แน่น. ในทำนองเดียวกัน มิชชันนารีก็ช่วยนักศึกษาคัมภีร์ไบเบิลให้พัฒนาคุณลักษณะต่าง ๆ ที่พระยะโฮวาพอพระทัยซึ่งจำเป็นเพื่อความรอด.
ผู้บรรยายเปรียบห่วงโซ่แต่ละข้อกับคุณลักษณะแปดประการที่กล่าวถึงใน 2 เปโตร 1:5-8. เขากล่าวว่าถ้ามิชชันนารีช่วยนักศึกษาของพวกเขาให้มองเห็นว่าพระยะโฮวาทรงแสดงคุณลักษณะเหล่านั้นอย่างไร นักศึกษาก็จะสร้างความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกับพระยะโฮวาซึ่งไม่มีสิ่งใดจะทำให้ขาดสะบั้นได้. แล้วพวกเขาจะสามารถรับมือกับความทุกข์ยากที่โหมกระหน่ำเข้ามาซึ่งเป็นการทดสอบความเชื่อของพวกเขา.
ประสบการณ์และการสัมภาษณ์
ไมเคิล เบอร์เนตต์ ผู้สอนอีกคนหนึ่งขอให้นักเรียนกิเลียดสาธิตการประกาศจากประสบการณ์ของพวกเขาเมื่อไม่นานมานี้. ผู้ฟังต่างยินดีที่ได้ฟังประสบการณ์ของนักเรียนที่ประกาศกับผู้คนในห้างสรรพสินค้า สนามบิน ตามบ้าน และแม้แต่กับคนที่โทรผิดเบอร์.
หลังจากนั้น ไมเคิล แฮนเซน สมาชิกครอบครัวเบเธลสหรัฐได้สัมภาษณ์พี่น้องชายสามคนซึ่งมีประสบการณ์ในงานมิชชันนารีหลายปี คือสตีเฟน แมกโดเวลล์ รับใช้ในปานามา มาร์ก นูแมร์ รับใช้ในเคนยา และวิลเลียม ยาซอฟสกี รับใช้ในปารากวัย. ประสบการณ์ของพวกเขาเน้นจุดสำคัญของส่วนสัมภาษณ์ที่มีชื่อว่า “มีความยินดีในการประพฤติตามน้ำพระทัยของพระองค์.” (บทเพลงสรรเสริญ 40:8) ตัวอย่างเช่น มาร์ก นูแมร์พูดถึงสิ่งต่าง ๆ ที่ทำให้เขากับภรรยามีความยินดีสมัยที่เป็นมิชชันนารี. มิตรภาพกับพยานฯ ในท้องถิ่นทำให้พวกเขาชื่นชมยินดีอย่างยิ่ง. นอกจากนั้น ทั้งสองยังมีความสุขที่เห็นพี่น้องหลายคนทำตามคำแนะนำที่ได้รับ เปลี่ยนแปลงชีวิตของตนขนานใหญ่ และเห็นว่าพระยะโฮวาอวยพรความพยายามของคนเหล่านี้มากเพียงไร. เขารับรองว่าในอนาคตนักเรียนทุกคนจะประสบความยินดีอย่างเหลือล้นซึ่งไม่มีอะไรเทียบได้.
หลังจากตัวแทนของชั้นเรียนที่ 131 อ่านจดหมายขอบคุณที่เขียนได้อย่างซาบซึ้ง บราเดอร์เลตต์กล่าวปิดการประชุมโดยสนับสนุนนักเรียนที่สำเร็จการศึกษาให้ประพฤติอย่างสุขุมรอบคอบ. เขาบอกว่าการทำเช่นนั้นจะ “ทำให้พระยะโฮวาปลาบปลื้มพระทัย.” มิชชันนารีเหล่านี้จะทำให้พระยะโฮวาปลาบปลื้มพระทัยอย่างแน่นอน ถ้าพวกเขารับใช้อย่างซื่อสัตย์ต่อ ๆ ไปในเขตงานที่ได้รับมอบหมาย.—ยะซายา 65:19
[แผนภูมิ/แผนที่หน้า 31]
สถิติชั้นเรียน
นักเรียนมาจาก 10 ประเทศ
เฉลี่ยอายุ 34.7 ปี
เฉลี่ยจำนวนปีที่รับบัพติสมา 19.0 ปี
เฉลี่ยจำนวนปีที่รับใช้เต็มเวลา 13.5 ปี
[แผนที่]
(ดูรายละเอียดจากวารสาร)
นักเรียนได้รับมอบหมายไปยังประเทศต่าง ๆ ดังแสดงไว้ข้างล่าง
เขตมอบหมายของนักเรียน
เบนิน
บราซิล
บัลแกเรีย
บุรุนดี
แคเมอรูน
แคนาดา
สาธารณรัฐแอฟริกากลาง
เยอรมนี
กานา
ฮ่องกง
อินโดนีเซีย
เคนยา
ไลบีเรีย
ลิทัวเนีย
มาเลเซีย
โมซัมบิก
เนปาล
ปานามา
ปารากวัย
เซียร์ราลีโอน
สโลวาเกีย
แอฟริกาใต้
สหรัฐอเมริกา
เวเนซุเอลา
[ภาพหน้า 30]
นักเรียนกิเลียดสาธิตประสบการณ์จากการประกาศ
[ภาพหน้า 31]
ผู้สำเร็จการศึกษารุ่นที่ 131 ของโรงเรียนว็อชเทาเวอร์ไบเบิลแห่งกิเลียด
รายชื่อข้างล่างนี้นับจากแถวหน้าไปแถวหลัง และเรียงลำดับจากซ้ายไปขวา.
(1) Lesch, C.; Lesch, N.; Shakarjian, P.; Shakarjian, T.; Budden, R.; Budden, K.; Nash, T.; Nash, L.
(2) Tremblay, E.; Tremblay, C.; Garvey, D.; Garvey, G.; Gaunt, R.; Gaunt, P.; Lau, J.; Lau, J.
(3) Davis, S.; Davis, S.; Sargeant, J.; Sargeant, J.; Fonseca, C.; Fonseca, S.; Thenard, E.; Thenard, A.
(4) Petratyotin, A.; Petratyotin, R.; Reyes, N.; Reyes, N.; Eisiminger, B.; Eisiminger, S.; Hacker, J.; Hacker, C.
(5) Hartman, E.; Hartman, T.; Goolia, W.; Goolia, K.; Thomas, J.; Thomas, E.; Okazaki, N.; Okazaki, M.
(6) Mills, C.; Mills, A.; Benning, L.; Benning, T.; Sobiecki, S.; Sobiecki, T.; Gagnon, L.; Gagnon, E.
(7) Hansen, B.; Hansen, M.; Fahie, A.; Fahie, M.; Dalgaard, J.; Dalgaard, J.; Andersson, M.; Andersson, R.